ความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแล และพัฒนาการด้านภาษาของเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชรินทร์พร มะชะรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พรทิพย์ กกฝ้าย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สังคม ศุภรัตนกุล สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ดวงพร แสงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, เด็กวัยก่อนเรียน, พัฒนาการด้านภาษา, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแล และพัฒนาการด้านภาษาของเด็กอายุ 2–5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นคู่ของผู้ดูแลเด็กและเด็กอายุ 2–5 ปี จำนวน 183 คู่ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วย วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิแบ่งระดับจากเด็กที่รับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่ายจากการจับฉลากจนครบตามจำนวน เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแล 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแล และ 4) แบบประเมินพัฒนาการตามช่วงวัยตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยปฐมวัย (DSPM) ของกระทรวงสาธารณสุข แบบประเมินความรู้และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษามีความตรงของเนื้อหา ได้ค่า IOC = 0.66-1.00 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR-20) เท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแลเด็กอายุ 2–5 ปี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=19.14, SD=1.26) และระดับความรู้ส่วนใหญ่ของผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก (96.17%) 2) พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแลเด็กอายุ 2-5 ปี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}=3.22, SD=0.78) และระดับพฤติกรรมผู้ดูแลส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก (55.74%)  3) พัฒนาการด้านภาษาของเด็กอายุ 2–5 ปี ในด้านการเข้าใจภาษา (RL) แบ่งตามช่วงอายุ 2–5 ปี อายุ 2–3  ปี และอายุ 3 ปี 1 เดือน–5 ปี ส่วนใหญ่มีพัฒนาการสมวัย (95.54%, 100% และ 91.08% ตามลำดับ) พัฒนาการด้านการใช้ภาษา (EL) แบ่งตามช่วงอายุ 2–5  ปี และอายุ 3 ปี 1 เดือน–5 ปี ส่วนใหญ่มีพัฒนาการสมวัยเช่นกัน (75.03% และ 92.36%) ส่วนเด็กอายุ 2 ปี–3 ปี มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษา (EL) สมวัยเพียง 57.69%

Author Biographies

ชรินทร์พร มะชะรา, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์

พรทิพย์ กกฝ้าย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

นักศึกษาพยาบาล

สุกัญญา ฆารสินธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

สังคม ศุภรัตนกุล, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

รองศาสตราจารย์

ดวงพร แสงสุวรรณ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์

References

ชุติมา จันทรมณี, ชูพักตร์ สุทธิสา, อินทิรา ซาฮีร์. การเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษาบ้านด้ามพร้า ตำบลบลขามใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2555;8(1):218-36.

พิชญ์ยุทธ์ สุนทรถิรพงศ์. พัฒนาการทางภาษาและการพูด [ออนไลน์]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: http://rajanukul.go.th/new/_admin/download/20-5923-1482492733.pdf

เมตตา ลิมปวราลัย, ลัดดาวัลย์ กลิ่นลำดวน, วราพรรณ มหาศรานนท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านการใช้ภาษาสมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดสุโขทัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2562; 13(4):78-90.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.

กุสุมาลี โพธิปัสสา. สภาวการณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็ก ตำบลโนนสูง–น้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 2562;22(2):25-37.

ต้องตา ขันธวิธี, จิราวรรณ แท่นวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดพัฒนาการด้านการใช้ภาษาไม่สมวัยในเด็กอายุ 9 เดือน ในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561;41(3):87-97.

Hoff E. Language Development. 5th ed. Boston, MA: Cengage Learning; 2013.

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 10th ed. Hoboken, NJ: Wiley; 2013.

วิเชียร เกตุสิงห์. หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2530.

สมัย ศิริทองถาวร. การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(1):3-12.

ประกาย จิโรจน์กุล, บรรณาธิการ. การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2556.

ดวงพร โตทัพ. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข; 2556.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง, อติญา โพธิ์ศรี, ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561; 41(1):95-104.

อัจฉรา วงศ์ชัยอุดมโชค, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์. บทบาทของผู้ปกครองในการใช้เทคโนโลยีและสื่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กวัยอนุบาล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 2561;13(1):245-59.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1997;84(2):191-215. doi: https://doi.org/10.1037/0033-295X.84.2.191

ชนม์ธิดา ยาแก้ว, รวี ศิริปริชยากร, จิราภรณ์ ยกอินทร์, อารีย์ พรหมเล็ก, อัญชิษฐา ปิยะจิตติ.พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก.วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ 2561;2(2):1-14.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, บุษบา อรรถาวีร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5.วารสารเกื้อการุณย์ 2563;27(1):59-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-17