ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา จิตรสม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • บานเย็น แสนเรียน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

คำสำคัญ:

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพที่เชื่อมโยงตั้งแต่การดูแลสุขภาพตัวเอง ความเชื่อ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับสุขภาพ วัฒนธรรมเป็นรูปแบบการตอบสนองทางพฤติกรรม ซึ่งเกิดจากพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความสำคัญและเป็นความท้าทายของพยาบาลอย่างมากในการให้การดูแลมารดาหลังคลอดมีความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างกัน  พยาบาลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อในการเจ็บป่วย และการดูแลที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงผู้รับบริการ และประสบผลสำเร็จในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด แนวทางการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผู้ดูแลควรต้องมีศักยภาพในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) การมีความไวหรือความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม 2) การมีความรู้ทางวัฒนธรรม 3) การมีทักษะสื่อสารข้อมูลทางวัฒนธรรม 4) การมีความสามารถในการเผชิญและปฏิบัติการพยาบาล และ 5) มีการป้องกันสิทธิมารดาหลังคลอด พยาบาลควรเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสุขภาพของบุคคลที่มีความต่างทั้งค่านิยม ความเชื่อ และรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการและสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพของมารดาหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Author Biographies

สุพรรษา จิตรสม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

อาจารย์พยาบาล

บานเย็น แสนเรียน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล

อาจารย์พยาบาล

References

จินตนา อาจสันเที๊ยะ, สายสมร เฉลยกิตติ. การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารพยาบาลทหารบก 2559;17(1):10-6.

Kılınc KO, Altun EC. Transcultural nursing. International Journal of Emerging Trends in Health Sciences 2018;2(1):1-6.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา. บทบาทของอาจารย์พยาบาลต่อการนำแนวคิดการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมสู่การปฏิบัติ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;26(2):11-22.

ศิริพันธ์ ศิริพันธ์, ประณีต ส่งวัฒนา. วิธีการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีของ แคมพินฮา-บาโคท. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2557;6(1):146-57.

Kaçan CY, Örsal Ö. Effects of transcultural nursing education on the professional values, empathic skills, cultural sensitivity and intelligence of students. J Community Health Nurs 2020;37:65-76.

Agyemang JB. Transcultural nursing and traditional care in Sukuma ethnic group. International Journal of Healthcare Sciences 2019;7(1):63-6.

ปรารถนา ลังการ์พินธุ์. การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2563;26(2):67-77.

จันทรมาศ เสาวรส. สืบสานภูมิปัญญาไทยของคนรุ่นใหม่: การบูรณาการภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562;36(3):251-7.

ช่อทิพย์ ผลกุศล, ศิริวรรณ แสงอินทร์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35(4):128-44.

Leininger M. Cultural Care Diversity and University: A theory of nursing. New York: John Wiley & Sons; 1991.

จันทรา แซ่ลิ่ว. วัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยชนเผ่าอิ้วเมี่ยน. Rajabhat Chiang Mai Research Journal 2561;19(2):75-87.

สกาวเดือน โอดมี, สุภาวดี เครือโชติกุล. แนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีความต่างทางวัฒนธรรม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2561;4(1-2):17-32.

Giger, J.N. Transcultural Nursing: Assessment & intervention. 7th ed. Missouri: Mosby; 2016.

ประณีต ส่งวัฒนา. การวิจัยทางการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม: แนวคิดและประเด็นวิจัย. วารสารสภาการพยาบาล 2557;29(4):5-21.

มารศรี ศิริสวัสดิ์, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง, เอกลักษณ์ เพียสา. สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวิจัยวิชาการ 2564;4(3):311-24.

พิมพ์ชนก วรรณแจ่ม. รูปแบบการดูแลสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์พื้นบ้านในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อพัฒนา]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครินทร์; 2560.

จุฑามาศ แซ่ลิ้ม, กิตติ ตันไทย, สดใส ขันติวรพงษ์, จักรกริช อนันตศรันย์. การใช้การแพทย์แผนไทยร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลครรภ์ กรณีศึกษาบ้านท่าโต้ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ; วันที่ 10 พฤษภาคม 2556.

อดิศร ศักดิ์สูง, เปรมสิรี ชวนไชยสิทธิ์. วิถีโต๊ะบีแด: การดำรงภูมิปัญญาพื้นบ้าน สืบสานวัฒนธรรมชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. อินทนิลทักษิณสาร 2561;13(1):31-53.

ละเอียด แจ่มจันทร์, สุรี ขันธรักษ์วงศ์, สุนทร หงส์ทอง, นพนัฐ จำปาเทศ. การแพทย์แผนไทยกับการบริบาลมารดาทารกหลังคลอดในชุมชนภาคกลาง. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(2): 195-202.

วีริสา ทองสง. บทบาทและภูมิปัญญาพื้นบ้านของหมอตำแยในจังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

นันทนา น้ำฝน, สกาวเดือน ไพบูลย์, สุดารัตน์ สุวารี. วัฒนธรรม ความเชื่อ เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอดของสตรีชาวพม่าที่พักอาศัยในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลตำรวจ 2559;8(2):73-82.

กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, เพชรา ทองเผ้า, จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ, อรพนิต ภูวงษ์ไกร. การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลมารดาและทารกโดยใช้ห้องเรียนชุมชนและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;33(4):288-99.

นันทา กาเลี่ยง, อนงค์ ภิบาล, สุกัญญา เทพโซ๊ะ. ประสบการณ์การดูแลหญิงหลังคลอดไทยมุสลิมที่ใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพช่วงหลังคลอด. สงขลา: วิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์; 2557.

ธนิดา คงสมัย. อิทธิพลเชิงสาเหตุและประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะด้านวัฒนธรรมด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีพฤติกรรมการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชน นานาชาติ เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562.

สุมาลี โพธิปัสสา. การดูแลเด็กป่วยและครอบครัวข้ามวัฒนธรรม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2559;19(3):236-46.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา, อารีรัตน์ ขำอยู่, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส. การพัฒนาเกณฑ์และมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(1):168-84.

วีระพงษ์ เกรียงสินยศ, มาลา สร้อยสำโลง, กรรณิการ์ ชมพูศรี, สิทธิพงษ์ อาณาตระกูล, สมพงษ์ สำราญชลารัตน์. อยู่ไฟหลังคลอด การจัดการความรู้การดูแลแม่และเด็ก ภูมิปัญญาพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสุขภาพไทย; 2552.

น้ำเพชร ศิริมังฆศรี, ธนกฤต ทิพย์พิมล. ผลของการรทำสปาหลังคลอดต่อการไหลของน้ำนม ระดับความเจ็บปวด ระดับความรู้สึกผ่อนคลาย และภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2563;10(2):39-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-27