ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของบุคลากรในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สุทธิมาศ สุขอัมพร โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • วลัยนารี พรมลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของบุคลากรในโรงพยาบาล   กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 54  คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 27 คน เก็บข้อมูลเดือนเมษายน–มิถุนายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ 3) แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และ      4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบสอบถามทั้งสองได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีค่าเท่ากับ 0.98 และ 1.00 ตามลำดับ และตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ       ครอนบาคของแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าเท่ากับ 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05

โปรแกรมพัฒนาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนต่อไป

Author Biographies

สุทธิมาศ สุขอัมพร, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

วลัยนารี พรมลา, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

Cancer [Internet]. Switzerland: World Health Organization; 2021 [cited 2021 Aug 5] Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2563.

National Cancer Institute. Colorectal cancer prevention (PDQ®)–Patient Version [Internet]. USA; 2021 [updated 2021 Jul 30; cited 2021 Aug 5]. Available from: https://www.cancer.gov/types/colorectal/patient/colorectal-prevention-pdq

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. มะเร็งลำไส้ใหญ่ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มปป [เข้าถึงเมื่อ: 2564 ส.ค. 5]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/health_service/th/km/09feb2018-1836

กรมการแพทย์. กรมการแพทย์แนะวิธีเลี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง” [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2563. [เข้าถึงเมือ 2564 สิงหาคม 5]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=23143

ชลธิรา กาวไธสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชาชนทั่วไปในจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง; 2562.

มนตรี นาทประยุทธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564; 36(1):219-26.

Kang SJ, Lee TW, Paasche-Orlow MK, Kim GS, Won HK. Development and evaluation of the Korean Health Literacy Instrument. J Health Commun. 2014;19 Suppl 2:254-66. doi: 10.1080/10810730.2014.946113.

Skinner CS, Tiro J, Champion VL. The health belief model. In: Glanz K, Rimer BK, Viswanath K, editors. Health Behavior: Theory, research, and practice. 5th ed. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2015.

Parsa P, Sharifi F, Shobeiri F, Karami M. Effects of Group Counseling Based on Health Belief Model on Cervical Cancer Screening Beliefs and Performance of Rural Women in Kaboudrahang, Iran. Asian Pac J Cancer Prev. 2017 Jun 25;18(6):1525-1530. doi: 10.22034/APJCP.2017.18.6.1525.

Burns N, Grove SK. The Practice of Nursing Research: Conduct, critique, & utilization. 5th ed. Philadelphia, PA: Saunders; 2004.

Glanz K, Rimer BK, Viswanath K, editors. Health Behavior: Theory, research, and practice. 5th ed. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2015.

ณัฐนนท์ คำพิริยะพงศ์, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. วารสารแพทย์นาวี 2560; 44(3):67-83.

นฤมล วงศ์วัยรักษ์, รชานนท์ ง่วนใจรัก. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการ สคร. 9 2562; 25(3):24-33.

พัชรรินทร์ เนียมเกิด, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, สุพร ดนัยดุษฎีกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม.วารสารสภาการพยาบาล 2563; 35(4): 99-111.

สุปราณี น้อยตั้ง, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. ผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2561; 11(2):78-99.

วาสนา เกตุมะ, ประนอม โอทกานนท์, จันทกานต์ กาญจนเวทางค์, จิราวุธ พันธชาติ. ผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยเจริญพันธุ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2552; 3(2):132-43.

ภูนรินทร์ สีกุด, ฐิติมา ศิริภาร์, ชาลินี ปลัดพรม. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7, 2563; 12(1):1174-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-21