ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • อาภรณ์ ศรีชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ทิวาพร ฟูเฟื่อง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • พิมพ์มาดา พชรปกรณ์ศิลป์ แผนกศูนย์จิตเวช โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน

คำสำคัญ:

ปัจจัยคัดสรร, ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา, โรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามี 5 ส่วนคือ การข้อมูลส่วนบุคคล จำนวนชนิดของยาต้านเศร้า อาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ยา สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ และความสม่ำเสมอในการรับประทานยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ของผู้ป่วยโดยใช้สถิติอนุมานไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ  (gif.latex?\bar{X} =3.71, SD=2.109) 2) จำนวนชนิดของยารักษาโรคซึมเศร้า อาการ ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอของการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (gif.latex?X^{2}=41.984, p<0.05; gif.latex?X^{2}=17.857, p<0.05 และ gif.latex?X^{2}=17.857,  p< 0.05 ตามลำดับ)

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการให้สุขภาพจิตศึกษาและการติดตามอาการในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยซึมเศร้ารับประทานยาสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี

Author Biographies

อาภรณ์ ศรีชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

ทิวาพร ฟูเฟื่อง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

พิมพ์มาดา พชรปกรณ์ศิลป์, แผนกศูนย์จิตเวช โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน

พยาบาลวิชาชีพ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข. “โรคซึมเศร้า” ทำใจพัง เช็กลิสต์สาเหตุและอาการ [ออนไลน์]. 2562; [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 1] เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30114.

World Health Organization. Depression and Other Common Mental Disorders: Global Health Estimates. Geneva: World Health Organization; 2017.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข. Coping with COVID19 [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2285.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมท สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

Colom F, Vieta E, Tacchi MJ, Sánchez-Moreno J, Scott J. Identifying and improving non-adherence in bipolar disorders. Bipolar Disord. 2005;7 Suppl 5:24-31. doi: 10.1111/j.1399-5618.2005.00248.x.

Novick D, Haro JM, Suarez D, Perez V, Dittmann RW, Haddad PM. Predictors and clinical consequences of non-adherence with antipsychotic medication in the outpatient treatment of schizophrenia. Psychiatry Res. 2010 Apr 30;176(2-3):109-13. doi: 10.1016/j.psychres.2009.05.004.

World health organization. Adherence to long term therapies evidence for action [Internet]. 2003 [cited 2021 Jun. 1]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/42682/9241545992.pdf;jsessionid=0EF30BF6AF0A43E3EDB493A231189F76?sequence=1.

กมลชนก มูลไชย, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, มาลาตี รุ่งเรื่องศิริพันธ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารพยาบาลสภาการชาดไทย. กรุงเทพฯ 2563;13(1):240-60.

Thorndike RM. Correlational Procedures for Research. New York: Garner Press; 1978.

Wongpakaran T, Wongpakaran N. Using Control Mastery Therapy with Borderline Patients. Paper presented at the 44th International Annual Meeting Society for Psychotherapy Research (SPR); 2013 Jul. 10-13; Brisbane, Australia.

Luborsky L, Barber JP, Siqueland L, Johnson S, Najavits LM, Frank A, Daley D. The Revised Helping Alliance Questionnaire (HAq-II) : Psychometric Properties. J Psychother Pract Res 1996;5(3):260-71.

Morisky DE, Ang A, Krousel-Wood M, Ward HJ. Predictive Validity of A Medication Adherence Measure in an Outpatient Setting. J Clin Hypertens (Greenwich) 2008;10(5): 348-54. doi: 10.1111/j.1751-7176.2008.07572.x.

ปิ่นทอง ผึ้งดอกไม้, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, ฉัตรกนก ทุมวิภาต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาศราชนครินทร์ 2559;8(1):16-26.

Al Jumah K, Hassali MA, Al Qhatani D, El Tahir K. Factors associated with adherence to medication among depressed patients from Saudi Arabia: a cross-sectional study. Neuropsychiatr Dis Treat 2014;10:2031–7. doi: 10.2147/NDT.S71697.

Alekhya P, Sriharsha M, Priya Darsini T, Reddy SV, Venkata Ramudu R, Shivanandh B, et al. Treatment and disease related factors affecting nonadherence among patients on long term therapy of antidepressants. J Depress Anxiety 2015;4(2):175. doi: 10.4172/2167-1044.1000175.

Sawada N, Uchida H, Suzuki T, Watanabe K, Kikuchi T, Handa T, Kashima H. Persistence and compliance to antidepressant treatment in patients with depression: a chart review. BMC Psychiatry 2009; 16;9:38. doi: 10.1186/1471-244X-9-38.

Yau WY, Chan MC, Wing YK, Lam HB, Lin W, Lam SP, et al. Noncontinuous use of antidepressant in adults with major depressive disorders-a retrospective cohort study. Brain Behav 2014;4(3):390-7. doi: 10.1002/brb3.224.

Banerjee S, Varma RP. Factors affecting non-adherence among patients diagnosed with unipolar depression in a psychiatric department of a tertiary hospital in Kolkata, India. Depress Res Treat 2013;2013:809542. doi: 10.1155/2013/809542.

กัญญา จันทร์ใจ, ธิราภรณ์ จันทร์ดา, อรสา พันธ์ภักดี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเอส แอล อี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556;19(1):60-72

อชิรญา เอกจิตต์, วันชัย มุ้งตุ้ย, วราภรณ์ บุญเชียง. การเปรียบเทียบผลของการกำกับตนเองร่วมกับการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด. พยาบาลสาร 2556;40(4):1-11.

นิตยา จรัสแสง, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, วิจิตรา พิมพะนิตย์, สมจิตร์ มณีกานนท์, ดวงแก้ว รอดอ่อง. ผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62(3):247-55.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

ปรารถนา คำมีสีนนท์. การให้สุขภาพจิตศึกษาเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

Al-Azzam SI, Alzoubi KH, AbuRuz S, Alefan Q. Drug-related problems in a sample of outpatients with chronic diseases: A cross-sectional study form Jordan. Ther Clin Risk Manag 2016;12:233-9. doi: 10.2147/TCRM.S98165.

เมธาวี ลุนสมบัติ, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว. วารสารแพทย์นาวี 2562;46(3):566-80

Gaston L, Marmar CR. Manual of California Psychotherapy Alliance Scales. Unpublished manuscript. San Francisco, CA: Department of Psychiatry, University of California; 1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-06