ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการแปรงฟันในเด็กวัยก่อนเรียน

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สายฝน จันทร์หอม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนดอนหัน กองการศึกษา เทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมทักษะการแปรงฟัน, เด็กวัยก่อนเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยก่อนเรียน (3-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 60  คนที่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมส่งเสริมทักษะการแปรงฟัน ประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี การสาธิตขั้นตอนการแปรงฟัน และการใช้หุ่นยนต์ “พี่กระป๋องพาน้องแปรงฟัน” โดยเครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินทักษะการแปรงฟัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00–1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าคะแนนรวมเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Independent t-test

ผลวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนรวมเฉลี่ยในทักษะการแปรงฟันในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=24.20, SD=2.17, Max=27, Min=19) ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนรวมเฉลี่ยในทักษะการแปรงฟันในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=19.87, SD=1.96, Max=23, Min=17) เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนรวมเฉลี่ยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนรวมเฉลี่ยในทักษะการแปรงฟันสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01, Mean diff.=4.33, 95% CI =3.34–5.19) จากการวิจัยเห็นได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมทักษะการแปรงฟันในเด็กวัยก่อนเรียน มีประสิทธิผลที่ดีและควรนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

Author Biographies

สุกัญญา ฆารสินธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

อาจารย์

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

อาจารย์

สายฝน จันทร์หอม, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนดอนหัน กองการศึกษา เทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดอุดรธานี

หัวหน้าสถานศึกษา

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงตามกลุ่มเด็กเล็กอายุ 3 ปี (ท02) ปี 2563 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 5]. เข้าถึงได้จาก:

http://dental2.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=113&filename=Surveillance.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางพัฒนาตำบลส่งเสริมเด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ฟัน ไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

สุณี วงศ์คงคาเทพ, บุปผา ไตรโรจน์, สาลิกา เมธนาวิน, อลิสา ศิริเวศสุนทร, สุภาวดี พรหมมา,

ปิยะดา ประเสริฐสม, และคณะ. รูปแบบกํารส่งเสริมสุขภาพช่องปากผสมผสานเพื่อลดปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัย.นนทบุรี: ออนพริ้นช้อพ; 2548.

ณัฐธิดา พันพะสุก, อัชชาวดี สักกุนัน, อรวรรณ นามมนตรี, รัชนีกร สาวิสิทธิ์. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองกับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก 3-5 ปีในอำเภอ

ซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตภิบาล 2561;29(2):13-26.

Hoffmeister L, Moya P, Vidal C, Benadof D. Factors associated with early childhood caries in Chile. Gac Sanit 2016;30(1):59-62. doi: 10.1016/j.gaceta.2015.09.005.

Peres MA, Sheiham A, Liu P, Demarco FF, Silva AE, Assunção MC, Menezes AM, Barros FC, Peres KG. Sugar Consumption and Changes in Dental Caries from Childhood to Adolescence. J Dent Res 2016;95(4):388-94. doi: 10.1177/0022034515625907.

Colak H, Dülgergil CT, Dalli M, Hamidi MM. Early childhood caries update: A review of causes, diagnoses, and treatments. J Nat Sci Biol Med 2013; 4(1):29-38. doi: 10.4103/0976-9668.107257.

Bowen WH, Pearson SK. Effect of milk on cariogenesis. Caries Res 1993;27(6):461-6. doi: 10.1159/000261581.

Turton B, Durward C, Manton D, Bach K, Yos C. Socio-behavioural risk factors for early childhood caries (ECC) in Cambodian preschool children: a pilot study. Eur Arch Paediatr Dent 2016; 17(2):97-105. doi: 10.1007/s40368-015-0215-7.

ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, วัชราภรณ์ ทัศจันทร์, ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์, ธนนันท์ เพ็ชรวิจิตร. ทันตกรรมป้องกันในเด็ก และวัยรุ่น (ปรับปรุงครั้งที่2). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เบสท์บุ๊คส์อินเทอร์เน็ต; 2554.

Moss SJ. The relationship between diet, saliva and baby bottle tooth decay. International Dental Journal 1996;46(1):399-402.

ลักขณา อุ้ยจิรากุล, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, จันทนา อึ้งชูศักดิ์, มุขดา ศิริเทพทวี. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดู และโรคฟันผุ ในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสระแก้ว. วารสารทันตสาธารณสุข 2556; 18(2):23-32.

นภา สุวรรณนพรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0-5 ปี ในศูนย์พัฒนา

เด็กเล็ก เขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28 (ฉบับเพิ่มเติม 1):23-33.

สุภร ตันตินิรามัย. สาเหตุ การรักษา และการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC). วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 33(2):167-75.

Wendt LK, Hallonsten AL, Koch G, Birkhed D. Oral hygiene in relation to caries development and immigrant status in infants and toddlers. Scand J Dent Res 1994; 102(5):269-73. doi: 10.1111/j.1600-0722.1994.tb01467.x.

Gibson S, Williams S. Dental caries in pre-school children: associations with social class, toothbrushing habit and consumption of sugars and sugar-containing foods. Further analysis of data from the National Diet and Nutrition Survey of children aged 1.5-4.5 years. Caries Res 1999;33(2):101-13. doi: 10.1159/000016503.

สุกัญญา ฆารสินธุ์, ดลฤทัย แพงจันทร์, กัญชพร หอมโสภา, กุลนารี แก่นหมั้น, กรรณิการ์ ชำนาญ, ปุณยนุช พานุวงศ์ และคณะ. การสำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล และภาวะสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดอนหัน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี,

[อัดสำเนา]. อุดรธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี; 2563.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินสื่อตุ๊กตาสอนแปรงฟันในระดับจังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 5] เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5020

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินสื่อตุ๊กตาสอนแปรงฟันใน 12 สุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 5] เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=5019&filename=pd

Bandura, A. Social cognitive theory: An agentic perspective. Asian journal of social psychology 1999; 2(1): 21-41. doi.org/10.1111/1467-839X.00024.

Gesell, A. The first five years of life a guide to the study of the preschool child, New York: Andesite press; 2015.

อัสมาพร สุรินทร์, บุบผา รักษานาม, นงนารถ สุขลิ้ม, ธนรุต ตั้งคำ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาสำหรับผู้ปกครอง ในการป้องกันฟันผุของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6(1):189-95.

Bernard R. Fundamentals of biostatistics (5th ed). Duxbury: Thomson Learning; 2000.

นิลุบล เบ็ญจกุล. การส่งเสริมพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา 2558;6(1);35-55.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปฐมวัย. นวัตกรรม/แนวปฏิบัติที่ดี. ราชบุรี: โรงเรียนบ้านโป่งวิทยาคม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน; 2562.

กษมา ปทุมสูติ, ปิยะนารถ จาติเกตุ, อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์. ประสิทธิผลของสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะ การแปรงฟันของผู้ปกครองกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี ในตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ทันตสาร 2561;39(2):103-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-10