บทบาทพยาบาลจิตเวชในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

ผู้แต่ง

  • สมรทิพย์ วิภาวนิช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาลจิตเวช, การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

บทคัดย่อ

การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการเป็นสัมพันธภาพใกล้ชิดเชิงวิชาชีพ ซึ่งต้องใช้เวลาและทรงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน โดยมีความไว้วางใจเป็นพื้นฐาน พยาบาลเป็นผู้ช่วยเหลือผู้รับบริการ ให้รู้จักตนเองตามความเป็นจริง ยอมรับและมีความเคารพตนเอง พยาบาลจิตเวชเป็นผู้ที่อยู่ใกลชิดกับผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม ความผิดปกติเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการในด้านการดูแลตนเองและการงาน ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น พยาบาลจิตเวชมีบทบาทสำคัญในทุกระยะของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เพราะมีความใกล้ชิดและเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้รับบริการในทุกขั้นตอนของการให้การพยาบาล โดยระยะก่อนการมีปฏิสัมพันธ์ พยาบาลมีบทบาทในการเตรียมตัวเรื่องความรู้ และทักษะต่างๆ มีเป้าหมายและแผนการพบผู้รับบริการ ศึกษาข้อมูลผู้รับบริการ และมีความตระหนักรู้ในตนเอง ระยะเริ่มต้น การสร้างสัมพันธภาพ พยาบาลมีบทบาทในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจ มีการกำหนดข้อตกลง กำหนดเป้าหมาย และสำรวจปัญหาร่วมกัน เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหาของตน สร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการเข้ารับการรักษา ระยะดำเนินการแก้ปัญหา พยาบาลมีบทบาทในการรักษาสัมพันธภาพที่ดีไว้อย่างต่อเนื่อง ช่วยผู้ให้รับบริการได้แก้ปัญหาของตนเอง โดยเริ่มจากการร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา วางแผน หาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ พยาบาลมีบทบาทในการสำรวจความรู้สึกของผู้รับบริการ ประเมินผลความก้าวหน้า ความสำเร็จ และสรุปผลของสัมพันธภาพ ทั้งนี้ การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดมีเป้าหมายสำคัญ คือมุ่งให้ผู้รับบริการมีสุขภาพดี

Author Biography

สมรทิพย์ วิภาวนิช, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาจารย์พยาบาล

References

Mirhaghi A, Sharafi S, Bazzi A, Hasanzadeh F. Therapeutic relationship: Is it still heart of nursing? Nurs Rep 2017;7(1):4-9. doi:10.4081/nursrep.2017.6129.

Priebe S, McCabe R. The therapeutic relationship in psychiatric settings. Acta Psychiatr Scand Suppl. 2006;(429):69-72. doi: 10.1111/j.1600-0447.2005.00721.x.

Gelo OC, Ziglio R, Armenio S, Fattori F, Pozzi M. Social representation of therapeutic relationship among cognitive-behavioral psychotherapists. J Couns Psychol. 2016 Jan;63(1):42-56. doi: 10.1037/cou0000104.

Evans-Jones C, Peters E, Barker C. The therapeutic relationship in CBT for psychosis: client, therapist and therapy factors. Behav Cogn Psychother. 2009 Oct;37(5):527-40. doi: 10.1017/S1352465809990269.

Roche E, Madigan K, Lyne JP, Feeney L, O'Donoghue B. The therapeutic relationship after psychiatric admission. J Nerv Ment Dis. 2014 Mar;202(3):186-92. doi: 10.1097/NMD.0000000000000102.

Murray RB, Huelskoetter MMW. Psychiatric Mental Health Nursing: Giving Emotional Care. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1991.

Davies JL, Janosik EH. Mental Health and Psychiatric Nursing: Caring approach. Boston: Jones and Barlett; 1991.

Stuart GW. Principles and Practice of Psychiatric Nursing. 10th ed. Missouri: Mosby Inc; 2013.

Brickhead LM. Psychiatric Mental Health Nursing: The Therapeutic Use of Self. Philadelphia: J.B. Lippincott; 1989.

Janosik EH, Davies JL. Mental health and psychiatric nursing: A caring approach. Boston: Jones and Bartlett; 1991.

Elcock K, Shapcott J. Core Communication Skills. In: Delves-Yates C. editor. Essentials of Nursing Practice. London, U.K: SAGE; 2015.

College of Nurses of Ontario. Therapeutic Nurse-Client Relationship (Rev. 2006). Toronto: College of Nurses of Ontario; 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-12