คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3

ผู้แต่ง

  • อรนิด นิคม สาขาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ศิริวรรณ บุตรหิน สาขาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพการนอนหลับ, ความเครียด, สตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพ
การนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จำนวน 85 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเครียด และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบไคสแควร์และฟิชเชอร์เอ็กแซค และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 10.92 (SD=0.59) ส่วนใหญ่เข้านอนเวลาประมาณ 21.00 น. (40.0%) โดยใช้เวลาตั้งแต่เข้านอนจนกระทั่งหลับเฉลี่ย 43.27 นาที (SD=3.6) ส่วนใหญ่ตื่นนอนเวลา 06.00 น. (44.7%) และนอนหลับเฉลี่ยคืนละ 7.82 ชั่วโมง (SD=0.18) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญ คือ  สถานภาพสมรส (p=0.03) และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.42, p<0.05) ดังนั้นหน่วยบริการฝากครรภ์ ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน การซักประวัติ ประเมินความเครียดและประเมินคุณภาพการนอนหลับในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 เพื่อ
วางแผนการพยาบาลให้มีความเหมาะสมกับบริบทต่อไป

Author Biographies

อรนิด นิคม, สาขาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อาจารย์

ศิริวรรณ บุตรหิน, สาขาการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อาจารย์

References

จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา. การพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพ: สยามพิมพ์นานา; 2560.

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL et al. Williams Obstetrics. 24th ed. New York: McGraw-Hill; 2014.

Mindell JA, Cook RA, Nikolovski J. Sleep patterns and sleep disturbances across pregnancy. Sleep Med 2015 Apr;16(4):483-8. doi: 10.1016/j.sleep.2014.12.006.

Okun ML, Luther J, Prather AA, Perel JM, Wisniewski S, Wisner KL. Changes in sleep quality, but not hormones predict time to postpartum depression. J Affect Disord 2011; 130(3): 378–84.

Du M, Liu J, Han N, Zhao Z, Yang J, Xu X, et al. Maternal sleep quality during early pregnancy, risk factors and its impact on pregnancy outcomes: a prospective cohort study. Sleep Medicine 2021 Mar 1;79:11-8.

Howe LD, Signal TL, Paine SJ, Sweeney B, Priston M, Muller D, et al. Self-reported sleep in late pregnancy in relation to birth size and fetal distress: the E Moe, Mama prospective cohort study. BMJ open 2015;5(10):e008910.

Sedov ID, Cameron EE, Madigan S, Tomfohr-Madsen LM. Sleep quality during pregnancy: A meta-analysis. Sleep Med Rev 2018 Apr;38:168-176. doi: 10.1016/j.smrv.2017.06.005.

Guopeng L, Linghua K, Haiyan Z, Xiaofei K, Yueyan F, Ping L. Relationship betweenprenatal maternal stress and sleep quality in Chinese pregnant women: the mediationeffect of resilience. Sleep Medicine 2016; 25:8-12

Gao M, Hu J, Yang L, Ding N, Wei X, Li L, Liu L, Ma Y, Wen D. Association of sleep quality during pregnancy with stress and depression: a prospective birth cohort study in China. BMC Pregnancy Childbirth 2019 Nov 27;19(1):444. doi: 10.1186/s12884-019-2583-1.

Symka M, Kaczynska KK, Wojcicka SN, Zgliczynska M, Wielgos M. Sleep problems in pregnancy-a cross-sectional study in over 7000 pregnant women in Poland. Int J Environ Res Public Health 2020;17(5306):1-8. doi: 10.3390/ijerph17155306.

Goniem SA, Elkholy GA, Ramadan SAE, Afifi HAA. Sleep disturbances among Primi Gravidae. EJHC 2018;9(3):72-85. doi: 10.21608/EJHC.2018.12988.

Buysse DJ, Reynolds CF 3rd, Monk TH, Berman SR, Kupfer DJ. The Pittsburgh Sleep Quality Index: a new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Res. 1989 May;28(2):193-213. doi: 10.1016/0165-1781(89)90047-4.

จำลอง ดิษยวณิช, พริ้มเพรา ดิษยวณิช. ความเครียดและสรีรวิทยาของความเครียด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2545;47:S3–S27.

Troxel WM. It’s more than sex: exploring the dyadic nature of sleep and implications for health. Psychosom Med 2010;72(6):578-86. doi: 10.1097/PSY.0b013e3181de7ff8.

Polit DF, Beck CT. Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. 7th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2010.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด (ST5) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 1] เข้าถึงได้จาก: http://164.115.41.179/promote/sites/default/files/sites/default/files/sw/ST5.pdf

Jirapramukpitak T, Tanchaiswad W. Sleep disturbances among nurses of Songklanagarind Hospital. Journal of the Psychiatrist Association of Thailand 1994; 42(3):122-31.

Polo-Kantola P, Aukia L, Karlsson H, Karlsson L, Paavonen EJ. Sleep quality during pregnancy: associations with depressive and anxiety symptoms. Acta Obstet Gynecol Scand. 2017;96(2):198-206. doi: 10.1111/aogs.13056.

เกวลิน ถกลพัฒนกุล, วรรณี เดียวอิศเรศ, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในหญิงตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27(1):60-7.

Hall WA, Hauck YL, Carty EM, Hutton EK, Fenwick J, Stoll K. Childbirth fear, anxiety, fatigue, and sleep deprivation in pregnant women. JOGNN.2009;38:567–76.

Reshadat S, Zakiei A, Karami J, Ahmadi E. A study of the psychological and family factors associated with sleep quality among pregnant women. Sleep and Hypnosis. 2018;20(1):17-24.

Li G, Kong L, Zhou H, Kang X, Fang Y, Li P. Relationship between prenatal maternal stress and sleep quality in Chinese pregnant women: the mediation effect of resilience. Sleep Medicine 2016;25:8-12.

Moore PJ, Adler NE, Williams DR, Jackson JS. Socioeconomic status and health: the role of sleep. Psychosomatic medicine 2002; 1;64(2):337-44.

Conlon RPK, Wang B, Germeroth LJ, Cheng Y, Buysse DJ, Levine MD. Demographic, Pregnancy-Related, and Health-Related Factors in Association with Changes in Sleep Among Pregnant Women with Overweight or Obesity. Int J Behav Med. 2021 Apr;28(2):200-206. doi: 10.1007/s12529-020-09887-4.

Srisawad K, Panyapinitnukul C, Sonnark N. Health promoting behavior in pregnancy. Songklanagarind Journal of Nursing 2018;38(2):95-109.

Hodgson LA. Why do we need sleeps? relating theory to nursing practice. J Adv Nurs 1991;16(12):1503-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15