อุบัติการณ์และปัจจัยเชิงทำนาย ภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มารับบริการศูนย์การตรวจค้นหาและคัดแยกโควิดครบวงจร โรงพยาบาลสระบุรี : การศึกษาระยะ 14 วันหลังการวินิจฉัย
คำสำคัญ:
โรคโคโรนาไวรัส 2019, อัตราการป่วย, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาอุบัติการณ์การเจ็บป่วย และปัจจัยที่ส่งผลถึงภาวะเจ็บป่วย (Morbidity) ในผู้ป่วยนอก ความรู้ความข้าใจในปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับผู้ป่วยได้
อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเจ็บป่วยและปัจจัยที่ใช้ในการทำนายการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่มารับบริการ ณ ศูนย์ตรวจค้นหาและคัดแยกโควิดครบวงจรเมืองสระบุรี การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาแบบ Retrospective cohort โดยใช้ข้อมูลจากศูนย์ตรวจค้นหาและคัดแยกโควิดครบวงจรเมืองสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ถึง 5 กันยายน พ.ศ. 2564 คำนวณหา Incident rate ของการเจ็บป่วยใน 14 วันหลังวินิจฉัย
และใช้ Multivariable Cox Proportional-Hazard Regression เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019
ผลการวิจัย พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่มารับบริการที่ศูนย์ตรวจค้นหาและคัดแยกครบวงจรเมืองสระบุรี ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึง 5 กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 1,026 คน พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะเจ็บป่วย (Morbidity) 111 ราย คิดเป็น Morbidity rate เท่ากับ 0.01 คน/คน-วัน
และไม่มีผู้เสียชีวิตในการศึกษานี้ ปัจจัยเสี่ยงของการเจ็บป่วยในระดับปานกลางขึ้นไปคือ อายุมากกว่า
60 ปี(Hazard ratio=2.05, p-value=0.004) โรคเบาหวาน (Hazard ratio=2.11, p-value=0.011) อาการหอบเหนื่อย และเจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้า (Hazard ratio=2.55, p-value<0.001)
References
Guan WJ, Ni ZY, Hu Y, Liang WH, Ou CQ, He JX, et al. China Medical Treatment Expert Group for Covid-19. Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China. N Engl J Med. 2020;382(18):1708-20. doi: 10.1056/NEJMoa2002032.
Wu Z, McGoogan JM. Characteristics of and Important Lessons from the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak in China: Summary of a Report of 72 314 Cases From the Chinese Center for Disease Control and Prevention. JAMA. 2020 7;323(13):1239-42. doi: 10.1001/jama.2020.2648.
World Health Organization. A clinical case definition of post COVID-19 condition by a Delphi consensus, [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 23]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Post_COVID-19_condition-Clinical_case_definition-2021.1
Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Hu Y, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet. 2020;395(10223):497-506. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30183-5.
ชนเมธ เตชะแสนศิริ, ฐากูร วิริยะชัย. Pathogenesis of COVID-19 สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (Pediatric Infectious Disease Society of Thailand) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: https://research.tu.ac.th/uploads/research_admin /pdf/annual_report/AnnualReport%202554.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 ในสระบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 28] เข้าถึงได้จาก: https://sri.hdc.moph.go.th/covid19/index.php
กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019, สถานการณ์ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ธ.ค. 28] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กรมควบคุมโรค. นิยามผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient Under Investigation: PUI) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย. 6] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_srrt.php
Zheng Z, Peng F, Xu B, Zhao J, Liu H, Peng J, et al. Risk factors of critical & mortal COVID-19 cases: A systematic literature review and meta-analysis. J Infect. 2020;81(2):e16-e25. doi: 10.1016/j.jinf.2020.04.021.
Kim HJ, Hwang H, Hong H, Yim JJ, Lee J. A systematic review and meta-analysis of regional risk factors for critical outcomes of COVID-19 during early phase of the pandemic. Sci Rep. 2021;11(1):9784. doi: 10.1038/s41598-021-89182-8.
Li D, Liu C, Liu J, Hu J, Yang Y, Zhou Y. Analysis of Risk Factors for 24 Patients with COVID-19 Developing from Moderate to Severe Condition. Front Cell Infect Microbiol. 2020;10:548582. doi: 10.3389/fcimb.2020.548582.
Bruminhent J, Ruangsubvilai N, Nabhindhakara J, Ingsathit A, Kiertiburanakul S. Clinical characteristics and risk factors for coronavirus disease 2019 (COVID-19) among patients under investigation in Thailand. PLoS One. 2020;15(9):e0239250.
WHO. Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct. 27] Available form: https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/
Gue YX, Tennyson M, Gao J, Ren S, Kanji R, Gorog DA. Author Correction: Development of a novel risk score to predict mortality in patients admitted to hospital with COVID-19. Sci Rep. 2021;11(1):8011. doi: 10.1038/s41598-021-87439-w.
Cho SY, Park SS, Song MK, Bae YY, Lee DG, Kim DW. Prognosis Score System to Predict Survival for COVID-19 Cases: a Korean Nationwide Cohort Study. J Med Internet Res. 2021;23(2):e26257. doi: 10.2196/26257.
Hajifathalian K, Sharaiha RZ, Kumar S, Krisko T, Skaf D, Ang B, et al.. Development and external validation of a prediction risk model for short-term mortality among hospitalized U.S. COVID-19 patients: A proposal for the COVID-AID risk tool. PLoS One. 2020;15(9):e0239536. doi: 10.1371/journal.pone.0239536.
Lindsley AW, Schwartz JT, Rothenberg ME. Eosinophil responses during COVID-19 infections and coronavirus vaccination. J Allergy Clin Immunol. 2020;146(1):1-7.
Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Treatment Guidelines [Internet]. Bethesda (MD): National Institutes of Health (US); 2021.
Abbasi E, Mirzaei F, Tavilani H, Khodadadi I. Diabetes and COVID-19: Mechanism of pneumonia, treatment strategy and vaccine. Metabol Open. 2021;11:100122.
Gao YD, Ding M, Dong X, Zhang JJ, Kursat Azkur A, Azkur D, et al. Risk factors for severe and critically ill COVID-19 patients: A review. Allergy. 2021;76(2):428-455.
Zhang JJ, Cao YY, Tan G, Dong X, Wang BC, Lin J, et al. Clinical, radiological, and laboratory characteristics and risk factors for severity and mortality of 289 hospitalized COVID-19 patients. Allergy. 2021;76(2):533-50. doi: 10.1111/all.14496.
Arentz M, Yim E, Klaff L, Lokhandwala S, Riedo FX, Chong M, et al. Characteristics and Outcomes of 21 Critically Ill Patients With COVID-19 in Washington State. JAMA. 2020;323(16):1612-4. doi: 10.1001/jama.2020.4326.
Kang SH, Cho DH, Choi J, Baik SK, Gwon JG, Kim MY. Association between chronic hepatitis B infection and COVID-19 outcomes: A Korean nationwide cohort study. PLoS One. 2021;16(10):e0258229. doi: 10.1371/journal.pone.0258229.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9