ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พิมพาภรณ์ กุลตังวัฒนา กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน, กลุ่มอาการสูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อประเมินสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก
ของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ ในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ ที่คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–31 ธันวาคม 2564 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปและประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก โดยใช้แบบประเมินผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน (Oral Impacts on Daily Performance : ODIP) แล้วทำการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก    

ผลการศึกษา ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ 245 ราย เป็นเพศชาย 132 ราย (ร้อยละ 53.9) ส่วนใหญ่มีอายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 48.9) พบอาการสมองเสื่อมมากที่สุด 132 ราย (ร้อยละ 53.9) มีร่องปริทันต์ลึกมากกว่า 4 มิลลิเมตร 138 ราย (ร้อยละ 56.3) จำนวนฟันที่เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ 132 ราย (ร้อยละ 53.9) และจำนวนคู่สบฟันหลังน้อยกว่า 4 คู่ 133 ราย (ร้อยละ 54.3) คะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน (ODIP) ความถี่เฉลี่ยมากสุด คือ ด้านการกิน 3.9 คะแนน ความรุนแรงเฉลี่ยมากสุด คือด้านการกิน 3.4 คะแนน คะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 75 คะแนน (เฉลี่ย 20.54 คะแนน) การกระจายความถี่ของคะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน ส่วนมากอยู่ที่ 25-50 เปอร์เช็นต์ไทล์ (12.5–17.5 คะแนน) 66 ราย (ร้อยละ 27.1)พบกลุ่มอาการสูงอายุและจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์กับคะแนนผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน

สรุปผลการศึกษา ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ มีสุขภาพช่องปากที่ส่งผลกระทบสุขภาพ
ต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก

Author Biography

พิมพาภรณ์ กุลตังวัฒนา, กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ทันตแพทย์ชำนาญการ

References

United Nations. World population prospects: the 2015 revision, key findings and advance table. New York: United Nations Department of Economic and Social Affairs/Population Division; 2015.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานประชากรสูงอายุปี 2533-2583 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2560 กรกฎาคม 7). เข้าถึงได้จาก: http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=1209&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=27

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.มิเตอร์ประเทศไทย Thailandometers [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2560 มิ.ย. 8]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักทันตสาธารณสุข; 2558.

ณภัทร จิรวัตน์, ศุภนิดา คำนิยม, วงศธร เทียบรัตน์, ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. กลุ่มอาการสูงอายุคืออะไร?. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562:1:23-4.

ปิติพร สิริทิพากร, วีรศักด์ เมืองไพศาล, ดุจปรารถนา พิศาลสารกิจ, เพ็ญศรี เชาว์พานิชย์, ไพฑูรย์ เหล่าจันทร์, สุทิศา ปิติญาณ, และคณะ. ความชุกของกลุ่มอาการสูงอายุและลักษณะของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(3):20-9.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2561:14-21.

สถาพร จันทร. คุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13(3):61-5.

สิริพร สาสกุล, สุวัฒน์ ตันยะ, พัชราวรรณ ศรีศิลปะนันทน์. คุณภาพชีวิตมิติสุขภาพช่องปากกับจำนวนฟันที่เหลือในช่องปากของผู้สูงอายุไทยในชนบทภาคเหนือ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.2563;20(1)

กิตติคุณ บัวบาน. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะช่องปากกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2560;16:45-56.

สุเทียน แก้วมะคำ, อารีย์ แก้วมะคำ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดบ้านในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2561;10(1):37-46.

อนงค์ ผุดผ่อง. ผลกระทบของสภาวะช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2014;34(2):49-58.

ศศิกร นาคมณี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลบางประกง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2561;35(1):30-9.

เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์,จิราพร เขียวอยู่,วิลาวัลย์ วีระอาชากุล.คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน:กรณีศึกษาในเขต อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2014;29(4):339-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-28