ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาและการจัดการตนเอง ต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชนธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
สุขภาพจิตศึกษา, ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา, ผู้ป่วยจิตเภท, การจัดการตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาและการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท
ในชุมชน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและสุ่มอย่างง่าย แบ่งเข้ากลุ่มๆ ละ 15 คน โดยใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาและการจัดการตนเอง ประเมินผลโดยเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือการใช้ยาภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
และค่าคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือการใช้ยาหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนภายในกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการทดลอง (Mean=75.93, SD=4.49) สูงกว่าก่อนทดลอง (Mean=38.06, SD=4.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (Mean df=39.33, 95% CI=36.46–42.19) และ 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า (Mean=75.93, SD=4.49) กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ (Mean=36.60, SD=3.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Mean df=39.33, 95% CI=36.46–42.19 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาสำหรับผู้ป่วยจิตเภทชุมชนได้
References
Higashi K, Medic G, Littlewood KJ, Diez T, Granström O, De Hert M. Medication adherence in schizophrenia: factors influencing adherence and consequences of nonadherence, a systematic literature review. Ther Adv Psychopharmacol. 2013 Aug;3(4):200-18. doi: 10.1177/2045125312474019.
Shao WC, Chen H, Chang YF, Lin WC, Lin EC. [The relationship between medication adherence and rehospitalization: a prospective study of schizophrenia patients discharged from psychiatric acute wards]. Hu Li Za Zhi. 2013 Oct;60(5):31-40. Chinese. doi: 10.6224/JN.60.5.31.
Writers M. Following the six principles developed by the STAY initiative may improve treatment adherence in patients with schizophrenia. Drug & Therapy Perspective 2013;29(9), 287-90.
สำนักงานสาธารณสุขร้อยเอ็ด. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. เอกสารเสนอตอที่ประชุมประจําปีงบประมาณสำนักงานสาธารณสุขร้อยเอ็ด. มปท; 2563
Acosta FJ, Hernández JL, Pereira J, Herrera J, Rodríguez CJ. Medication adherence in schizophrenia. World J Psychiatry. 2012 Oct 22;2(5):74-82. doi: 10.5498/wjp.v2.i5.74.
Williams CA. Patient education for people with schizophrenia. Perspect Psychiatr Care. 1989;25(2):14-21. doi: 10.1111/j.1744-6163.1989.tb00298.x.
Roncone R, Mazza M, Ussorio D, Pollice R, Falloon IR, Morosini P, Casacchia M. The questionnaire of family functioning: a preliminary validation of a standardized instrument to evaluate psychoeducational family treatments. Community Ment Health J. 2007 Dec;43(6):591-607. doi: 10.1007/s10597-007-9093-8.
Anderson CM, Hogarty GE, Reiss DJ. Schizophrenic and the family: A Practitioner , s Guide to Psychoeducation and Management. New York: Guilford Press; 1986.
Lorig, KR, Holman H. Self–management Education: History, definition, outcome, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 2003; 26(1): 1-7.
Redman BK. Patient self-management of chronic disease: The health care provider’s challenge. Sudbury, MA: Jones & Bartlett Publishers; 2004.
ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563; 7(2): 232-43.
Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Overall JE, Gorham DR. The brief psychiatric rating scale. Psychological Reports; 1962.
Farragher B. Treatment compliance in the mental health service. Irish Medical Journal. 1999; 92(6): 392-94.
อุมาภรณ์ กำลังดี, ภาวนา บุญมุสิก, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. การพัฒนาแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือความดันโลหิตสูงด้วยทีมหมอครอบครัว. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(ฉบับพิเศษ): S1-S18.
สุมิศา กุมลา, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563; 34(2): 132-52.
ณัฏฐพัชร สุนทโรวิทย์, อัญชลี วิจิตรปัญญา, ปาณิสรา อินทร์กันทุม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563; 34(2): 153-68.
ณิชาภัทร มณีพันธ์, สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2559; 30(3): 80-91.
อณิมา จันทรแสน, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, สุนิศา สุขตระกูล. ผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2562; 33(3): 103-15.
อินทุกานต์ สุวรรณ์, สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา ต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563; 34(1): 152-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9