ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการอยู่ไฟของมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร, พย.ม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความเชื่อหลังคลอด, การรับประทานอาหารหลังคลอด, การอยู่ไฟหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการอยู่ไฟของมารดาในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานหลังคลอดมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) เชื่อว่าการดื่มน้ำอุ่นจะช่วยบำรุงน้ำนม (95%) 2) เชื่อว่ากินผักชีลาว หัวปลี ยอดใบอ่อนสลิด ดอกแค ยาสามราก ข่า จะช่วยบำรุงน้ำนม (78.8%) และ 3) เชื่อว่าการกินน้ำแข็งจะทำให้ปวดมดลูก (76.3%) 
2. ความเชื่อเกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอดมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่ไฟและน้ำคาวปลายังไม่หมดจะทำให้เกิดการติดเชื้อ (95.7%) 2) เชื่อว่าการอยู่ไฟทำให้ร่างกายแข็งแรง มดลูกเข้าอู่เร็ว ขับน้ำคาวปลา เลือดลมไหลเวียนดี มีน้ำนมมาก ไม่ปวดท้องและไม่ปวดเอว (8%) และ 3) เชื่อว่าการอยู่ไฟในห้องขนาดเล็กและไม่มีที่ระบายอากาศ จะเป็นการเพิ่มความร้อน จนทำให้เป็นไข้ได้ (55%) 
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าบางความเชื่อยังปฏิบัติอยู่เช่นเดิม บางความเชื่อมีเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่บางความเชื่อไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน มารดาหลังคลอดจะเลือกปฏิบัติตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและการบำรุงน้ำนมเพื่อเลี้ยงดูบุตร  พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขควรพิจารณาและใช้ประกอบการให้คำแนะนำเพื่อการส่งเสริมสุขภาพหลังคลอดต่อไป

Author Biography

ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร, พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

References

ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการพยาบาลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพหลังคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: เพ็ญพริ้นติ้ง จำกัด; 2559.

อำภาพร พัววิไล. ค่านิยม ความเชื่อ เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กในขวบปีแรก การศึกษาเชิงคุณภาพ โครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2546.

มณฑิรา เขียวยิ่ง. อยู่กรรมหลังคลอด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2542; 22(1):41-6.

อรุณรัตน์ จันทะลือ. การสืบทอดความเชื่อเรื่องผีปู่ตาของเยาวชนชาติพันธ์โส้ บ้านกอก ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2549.

สมหญิง พุ่มทอง, ลลิตา วีระเสถียร, วรพรรณ สิทธิถาวร, อภิชาต รุ่งเมฆารัตน์, อรลักษณา แพรัตกุล. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2553; 4:281-95.

ยุพา อภิโกมลกร. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดแบบพื้นบ้านภาคเหนือ: กรณีศึกษาที่บ้านหัวเสือ ตำบลหัวเสืออำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2551; 6(2):148-57.

Maiman LA, Becker MH. The Health Belief: Origins and Correlates in Psychological Theory, Health Education Monographs. [Internet]. 1974 [cited 2019 Jun 20]; 2(4):336-53. Available from: http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.856.1372&rep=rep1&type=pdf

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา. บทบาทของอาจารย์พยาบาลต่อการนำแนวคิดการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมสู่การปฏิบัติ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559; 26(2):11-22.

Bouphavanh K, Vongkhily S, Xayyalath B, Ongroongruang S. Maternal eating practice and infant feeding in a Laos people’s democratic republic rural area. Thammasat Medical Journal. 2009; 9(2): 130-9.

กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, เพชรา ทองเผ้า, จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ, อรพนิต ภูวงษ์ไกร. การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลมารดาและทารก โดยใช้ห้องเรียนชุมชนและการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2559; 33(4):288-99.

พนิดา กมุทชาติ, จุฑามาศ รัตนะโคตร, อภิญาภรณ์ แก้วดี. ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการบริโภคอาหารของมารดาหลังคลอด: กรณีศึกษาชุมชนภูไท ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร.วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2561; 4(2):39-56.

อรวรรณ มะโนธรรม, สุกัญญา ปริสัญญกุล, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์. พฤติกรรมสุขภาพภายหลังคลอดของสตรีลาว ในเขตชนบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2557; 41(3): 35-47.

Thasanoh P. Northeast Thai women's experiences in following traditional postpartum practices [dissertation]. San Francisco: University of California, San Francisco; [Internet]. 2010 [cited 2019 December 26]; Available from: http://proquest.umi.com/pqdweb?did=2180244461&Fmt=7&clientId=48051&RQT=3009&VName=PQD

เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป, สุธรรม นันทมงคลชัย, ระพีพรรณ์ พันธุ์รัตน์. ประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดและการปฏิบัติหลังคลอดของมารดาไทยอีสานในพื้นที่อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. ใน สุธรรม นันทมงคลชัย, ภัทรา สง่า, เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป, ระวีวรรณ ชอุ่มพฤกษ์, อำภาพร พัววิไล, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, บรรณาธิการ. การตั้งครรภ์ การคลอดและการปฏิบัติตัวหลังคลอด ใน 4 พื้นที่ศึกษา 4 ภาคของประเทศไทย: เอกสารรายงานวิชาการโครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย ระยะที่ 1 ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์; 2546. หน้า 28-40.

จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล และคณะ. ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารขะลำ(แสลงของหญิงหลังคลอด และครอบครัวในบริบทอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2555; 31(5): 36-50.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการผดุงครรภ์มารดาด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์; 2557.

Lamxay V, De Boer HJ, Bjork L. Traditions and plant use during Pregnancy Childbirth and postpartum recovery by the Kry ethnic group in Lao PDR. Journal of Ethno-biology and Ethnomedicine. 2011; 7(14): 1-15.

Davidson MC, London M, Ladewig P. Old’s Maternal-Newborn and Nursing & Women’s Health Across the Lifespan. 9th ed. New York: Pearson; 2011.

นันทา กาเลี่ยง, อนงค์ ภิบาล, สุกัญญา เทพโซ๊ะ. ประสบการณ์การดูแลของหญิงหลังคลอดไทยมุสลิมที่ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่วงหลังคลอด. รายงานการวิจัยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร. [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2563 เมษายน 2]. เข้าถึงได้จาก: http://rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_123213f.pdf

สายฝน สกุลผอม, ประศักดิ์ สันติภาพ, วัฒนา ชยธวัช, รัชนี จันทร์เกษ, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ. การดูแลหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์พื้นบ้านไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขศึกษา. 2563; 43(2): 107-18.

Mao L, Ma L, Liu N, Chen B, Lu Q, Ying C, et al. Self-reported health problems related to traditional dietary practices in postpartum women from urban, suburban and rural areas of Hubei province, China: the 'zuò yuèzi'. Asia Pac J Clin Nutr. [Internet]. 2016 25(1),158-64. [cited 2021 March 20]; Available from: http://apjcn.nhri.org.tw/server/APJCN/25/1/158.pdf

สถาบันการแพทย์แผนไทย. การดูแลสุขภาพหญิงคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์; 2551.

นิตยา บุญทิม. ว่านนางคำ. [อินเตอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 5]. เข้าถึงได้จาก: https://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=73

ปรรณณวัชญ์ ไชยวัฒนนันทน์, ภาณัฐ เดชะยนต์, ปฐมพงษ์ เผือกลี, ศรีโสภา เรืองหนู, จิตพิสุทธิ์ จันทร์ทองอ่อน. ฤทธิ์ต้านการอักเสบและการบรรเทาอาการปวดของสมุนไพรที่ใช้ในการทับหม้อเกลือ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2563; 18(3): 455-69.

เสฐียรโกเศศ (นามแฝง). ประเพณีเนื่องในการเกิด. นนทบุรี: โครงการเลือกสรรหนังสือ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-31