โยคะเพื่อสุขภาวะจิตวิญญาณสตรีตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
โยคะ, สุขภาวะจิตวิญญาณ, สตรีตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์เป็นความมหัศจรรย์ตามธรรมชาติ ที่ทำให้สตรีมีโอกาสสัมผัสลึกลงสู่มิติจิตวิญญาณ ดังนั้นการดูแลสตรีตั้งครรภ์ให้มีสุขภาวะด้านจิตวิญญาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการดูแลด้านร่างกาย จิต และอารมณ์ เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์สตรีมีการเปลี่ยนแปลงทุกระบบของร่างกาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลของชีวิต ต้องประสบกับความทุกข์ หรือความไม่สุขสบายทั้งกาย ใจ และอารมณ์ ที่อาจกระทบถึงจิตวิญญาณได้ โยคะเข้ามาช่วยเติมเต็มการดูแลสุขภาวะจิตวิญญาณ เนื่องจากช่วยสตรีตั้งครรภ์เข้มแข็ง ก้าวข้ามทุกความยากลำบาก รวมทั้งเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง เข้าใจความหมายและคุณค่าของชีวิต ชัดเจนในบทบาทแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิตใหม่ และมีความมั่นใจในการเลี้ยงดูลูก โดยโยคะสอนสตรีตั้งครรภ์ให้ทบทวนและประเมินตนเองจนเข้าใจอย่างลุ่มลึก ฝึกปฏิบัติตามแนวทางโยคะ ด้วยการมีทัศนคติทางบวกปฏิบัติอาสนะเพื่อสร้างความยืดหยุ่นจนแข็งแรงทั้งกายและใจ เพิ่มพลังชีวิตด้วยการฝึกควบคุมลมหายใจ การผ่อนคลาย และการพัฒนาจิต
บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอแนวคิดของจิตวิญญาณ โยคะสูตร ชีวิตและองค์ประกอบชีวิตตามความเชื่อของโยคะ การดูแลด้านจิตวิญญาณสตรีตั้งครรภ์ด้วยโยคะ และปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการนำโยคะมาพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณสตรีตั้งครรภ์ พยาบาลผดุงครรภ์ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดสตรีตั้งครรภ์มีอิทธิพลในการส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์ได้พัฒนาจิตวิญญาณ ควรสนับสนุนสตรีตั้งครรภ์ฝึกโยคะ เพื่อช่วยสตรีตั้งครรภ์บรรลุสุขภาวะด้านจิตวิญญาณ
References
McKinney ES, James SR, Murray SS, Nelson KA, Ashwill, JW. Maternal-Child Nursing. 5th ed. St. Louis, Missouri: Elsevier; 2018.
Bilgiç G, Bilgin NC. Relationship between fear of childbirth and psychological and spiritual well-being in pregnant women. J Relig Health. 2020; 60(1): 295–310.
Gold JM. Spirituality and self-actualization: considerations for 21st-century counselors. J Human Counseling. 2013; 52(2): 223-34.
Bradley KL, Goetz T, Viswanathan S. Toward a contemporary definition of health. Mil Med. 2018; 183(suppl 3): 204-7.
เยาวเรศ สมทรัพย์. โยคะเพื่อสุขภาวะสตรีตั้งครรภ์. สงขลา: อัลลายด์เพรส จำกัด; 2553.
Jesse DE, Schoneboom C, Blanchard A. The effect of faith or spirituality in pregnancy: A content analysis. J Holistic Nurs. 2007; 5(3): 151-8.
พเยาว์ เกษตรสมบูรณ์, เยาวเรศ สมทรัพย์. โยคะกับกำเนิดชีวิตใหม่. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.
Narendran S, Nagarathna R, Nagendra HR. Yoga for pregnancy. Bangalore: Rashtrotthana Mudranalaya; 2005.
Sheldrake P. A brief history of spirituality. Vitoria: Blackwell; 2007.
Blaszko Helming MA, .Shields DA, Avino KM, Rosa WE. Dossey & Keegan's holistic nursing: A handbook for practice. 8th ed. Burlington, MA: Jones & Barlett; 2022.
ฮิโรชิ ไอคะตะ, ฮิเดโกะ ไอคะตะ, สุภาพร พงศ์พฤกษ์, กวี คงภักดีพงษ์. โยคะในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2546.
ฆาโรเต เอ็ม แอล. ศาสตร์และศิลป์แห่งโยคะ: Yogic techniques (พิมพ์ครั้งที่ 2, วีระพงษ์ ไกรวิทย์ และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2551.
กวี คงภักดีพงษ์. วิถีชีวิตแห่งโยคะ (ตอนที่ 2). หมอชาวบ้าน. 2552; 3: 46-7.
Iyengar GS. Yoga: A gem for women. New Delhi: Allied Publishers Ltd; 2006.
Kusaka M, Matsuzaki M, Shiraishi M, Haruna M. Immediate stress reduction effects of yoga during pregnancy: One group pre–post test. Women Birth. 2016; 29(5): 82-8.
Holden SC, Manor B, Zhou J, Zera C, Davis RB, Yeh GY. Prenatal yoga for back pain, Balance, and maternal wellness: A randomized, controlled pilot study. Glob Adv Health Med 2019; 8: 1-11.
de Campos EA, Narchi NZ, Moreno G. Meanings and perceptions of women regarding the practice of yoga in pregnancy: A qualitative study. Complement Ther Clin Pract. 2020; 39:101099.
เยาวเรศ สมทรัพย์. โยคะ: ศาสตร์ทางเลือกในการสร้างเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์. พยาบาลสาร. 2564; 48(1): 318-30.
Desikachar TKV. The Heart of Yoga: Developing a personal practice. 2 nd ed., Teeradeh Uthaiwittharat, (Translator). Bangkok: Kledthai; 2007.
วีรพงษ์ ไกรวิทย์, จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี. ตำราโยคะดั้งเดิม: ทำความเข้าใจกับสภาวะของปรัตยาหาระ. จุลสารโยคะสารัตถะ. 2550; 1: 27-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9