ผลของโปรแกรมเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ในคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพใหม่นารี ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โปรแกรมเยี่ยมบ้าน, การเลิกสูบบุหรี่, คลินิกหมอครอบครัว, เวชศาสตร์ครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมการเลิกสูบหรี่ในคลินิกหมอครอบครัว รพ.สต.ใหม่นารี อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้ารับการบำบัดในคลินิกหมอครอบครัวรพ.สต.ใหม่นารี ได้รับโปรแกรมเยี่ยมบ้านร่วมกับการดูแลตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวโดยทีมหมอครอบครัว จำนวน 4 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 1, 2, 4 และ 6) กลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับโปรแกรมเลิกบุหรี่ตามปกติของรพ. โนนไทย จำนวน 4 ครั้ง เช่นเดียวกับกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่ออุปกรณ์ให้ความรู้ ยาช่วยเลิกบุหรี่ เครื่องตรวจวัดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ข้อมูลทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ต่อสมาชิกในครอบครัวและทีมผู้ให้บริการ และแบบบันทึกการติดตามพฤติกรรมการเลิกบุหรี่และระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติที
ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเลิกสูบบุหรี่ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 53.33 และ 23.33 ตามลำดับ, p<0.05) ค่าเฉลี่ยจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันในกลุ่มทดลอง (1.85±2.41 มวนต่อวัน) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (3.00±2.48) (p<0.05) และค่าเฉลี่ยระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ (CO) ในกลุ่มทดลอง (3.17±2.73 ppm) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (6.07±4.52 ppm) (p<0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าโปรแกรมเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่โดยการประยุกต์ใช้หลักการเวชศาสตร์ครอบครัว มีผลต่อความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ ควรจัดให้มีการบริการช่วยเลิกสูบบุหรี่ร่วมกับโปรแกรมเยี่ยมบ้านในสถานบริการคลินิกหมอครอบครัวทุกแห่ง
References
ฝ่ายข้อมูลและเผยแพร่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. บุหรี่จิ๋วแต่เจ็บ(ป่วย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิมพ์ดี; 2547.
กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2562.
กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560 THE SMOKING AND DRINKING BEHAVIOUR SURVEY 2017. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.
บุหรี่เผาปอดคนไทยเสียชีวิตกว่า 4 หมื่นคน [อินเตอร์เน็ต]. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. 2562 พฤษภาคม 21 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มีนาคม 15]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29726
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มีนาคม 15]. เข้าถึงได้จาก https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/primarycarecluster2017/home
พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136, ตอนที่ 56 ก (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562).
ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ .2564 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/210915163169178012.pdf
คลินิกหมอครอบครัว หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://pcc.moph.go.th/pcc/dashboard
สายพิณ หัตถีรัตน์. เวชศาสตร์ครอบครัวแนวคิดและประสบการณ์ในบริบทไทย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2553.
เดือนทิพย์ เขษมโอภาส, พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ. ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อครอบครัวไทยไร้ควันบุหรี่. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558;26:81-63
Huang FF, Jiao NN, Zhang LY, Lei Y, Zhang JP. Effects of a family-assisted smoking cessation intervention based on motivational interviewing among low-motivated smokers in China. Patient Education and Counseling 2015;98:984–90.
Srisuklorm S, Kalayasiri R. Motivation to change smoking behavior of smokers at the Check - Up Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Journal of Medical Bioscience 2019;1:61–9.
ปรัชพร กลีบประทุม, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้สูบบุหรี่ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;3(4):30-40.
piCOTM Smokerlyzer [Internet]. England: Bedfont Scientific Ltd; c2021 [update 2022 Jan 20]. Available from: https://www.bedfont.com/pico
Jarvis MJ, Belcher M, Vesey C, Hutchison DC. Low cost carbon monoxide monitors in smoking assessment. Thorax 1986;41:886–7. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC460516/
Gould G. Patient-centred tobacco management. Drug and alcohol review 2013;33. Available from: https://www.researchgate.net/publication/258821978_Patient-centred_tobacco_management
Chouinard MC, Robichaud-Ekstrand S. The effectiveness of a nursing inpatient smoking cessation program in individuals with cardiovascular disease. Nursing Research 2005;54:243–54.
ทิพย์ฤทัย ธงศรี, พยอม สุขเอนกนันท์, สันติภาพ สุขเอนกนันท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อครอบครัวปลอดบุหรี่โดยเภสัชกรปฐมภูมิ. วารสารเภสัชกรรมไทย 2564;13:112–26. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/207467
กรรณิการ์ กาศสมบูรณ์, ถาวร ล่อกา, ธีรารัตน์ บุญกุนะ, วีระชัย เขื่อนแก้ว. การรับรู้อิทธิพลของครอบครัวต่อการเลิกสูบบุหรี่ในครอบครัว Family Influence on Smoking Cessation. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ทุกช่วงวัยโดยบุรณาการสหวิชาชีพ มุมมองด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ และการพยาบาล; วันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2556; อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ลำปาง; มหาวิทยาลัย; 2556. เข้าถึงได้จาก https://administer.pi.ac.th/uploads/pisite/PIEiS/KPI_2/doc/8863_1106_2014-03-21.pdf
วิไลวรรณ วิริยะไชโย, อภิรดี แซ่ลิ่ม. ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่และสุขภาพของบุคลากร นักศึกษาแพทย์ และผู้ป่วยนอกและญาติ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;3:205–14.
สธิตา สมควรดี. การเลิกสูบบุหรี่ ความตั้งใจและปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ. การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7. กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9