ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • จิราพร วรวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส., เบาหวานชนิดที่ 2, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน รับบริการที่คลินิกเบาหวาน รพสต. จ.อุดรธานี ศึกษาวิจัยช่วง มค.63–ก.ย.63 เครื่องมือการวิจัย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. มีค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (69.81%; gif.latex?\bar{X}=163.35, SD=14.88) คะแนนเฉลี่ยสูงสุดด้านการอ่านศัพท์พื้นฐานการแพทย์ (82.77%; gif.latex?\bar{X}=54.63, SD=5.63) คะแนนเฉลี่ยต่ำสุดด้านความสามารถการอ่านและเข้าใจตัวเลข (38.38%; gif.latex?\bar{X}=3.07, SD=1.17) พฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.13, SD=0.80) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. พบว่า เพศ (r=0.450) และการเข้าร่วมกิจกรรมสุขศึกษาของ รพ.สต. (r=0.302) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 ความเพียงพอของรายได้มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.236)ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 (r=0.359) ปัจจัยส่วนบุคล อายุ สถานะ ระดับการศึกษา อาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลัก 3อ. 2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Author Biographies

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

อาจารย์

จิราพร วรวงศ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ผู้อำนวยการ

References

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. The Blueprint for Change Programme [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 14]. เข้าถึงได้จาก: www.novonordisk.com

Sun H, Saeedi P, Karuranga S, Pinkepank M, Ogurtsova K, Duncan BB. IDF Diabetes Atlas: Global, regional and country-level diabetes prevalence estimates for 2021 and projections for 2045. Diabetes Res Clin Pract [Internet]. 2022. [cited 2022 Feb 14]; 183:109119. Available from: https://www.diabetesresearchclinicalpractice.com/article/S0168-8227(21)00478-2/fulltext .

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดย การตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า สุธิดา แก้วทา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2562. นนทบุรี : กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

เขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2563 Annual Report. [เอกสารออนไลน์]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2564 พฤศจิกายน 17]. เข้าถึงได้จาก : https://r8way.moph.go.th/report-2563/รายงานประจำปี%202563.pdf

RobatSarpooshi D, Mahdizadeh M, Alizadeh Siuki H, Haddadi M, Robatsarpooshi H, Peyman N. The Relationship Between Health Literacy Level and Self-Care Behaviors in Patients with Diabetes. Patient Relat Outcome Meas. 2020 May 5;11:129-135. doi: 10.2147/PROM.S243678.

Lee EH, Lee YW, Lee KW, Nam M, Kim SH. A new comprehensive diabetes health literacy scale: Development and psychometric evaluation. Int J Nurs Stud. 2018; 88:1-8.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970; 30: 607-10.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง [อินเตอร์เน็ต] 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 14]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/news/5522

อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว, อธิวัฒน์ เจียวิวรรธ์กุล, สาวิตรี ทยานศิลป์. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้สุขภาพ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion. 2561; 7(2): 76-95.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, ชาตินัย หวานวาจา. ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารประชากรศาสตร์. 2563; 36(2):37-52.

วิมลรัตน์ บุญเสถียร, อรทัย เหรียญทิพยะสกุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: สถานการณ์และผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563; 2(1):1-19.

สมสุข ภาณุรัตน์, พรพรรณ ภูสาหัส, สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล, พชรี กระจ่างโพธิ์, วิถี ธุระธรรม, ภาสกร เนตรทิพวัลย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2562; 11(1):86-94.

สุภาพร คำสม, แสงทอง ธีระทองคำ, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2560; 4(2):46-60.

สมศักดิ์ ถิ่นขจี. รายงานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์; 2560.

ดวงเนตร ธรรมกุล, ธณิดา พุ่มท่าอิฐ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;15(1):106-18.

Xu C, Furuya-Kanamori L, Liu Y, Faerch K, Aadahi M, Seguin RA, et al. Sedentary behavior, physical activity, and all-cause mortality: dose response and intensity weighted time-use meta-analysis. J Am Med Directors Assoc. 2019; 20(10): 1206-12.

มนตรี นรสิงห์, สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2562; 10(1):35-50.

กัลยา มั่นล้วน, วิภาดา กาญจนสิทธิ์, วิภา สุทธิพันธ์. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. NMCCON 2019: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 “สังคมผู้สูงวัย โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”. [เอกสารออนไลน์] 2562. [สืบค้นวันที่ 19 ธันวาคม 2564]. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_99.pdf

แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสิรฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558; 25(3): 43-54.

อรุณี หล้าเขียว, ทวีวรรณ ชาลีเครือ. ความฉลาดทางด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปียงหลวง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 กลุ่มระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์. 2558; 1(6):635-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-26