ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้า, การสนับสนุนทางสังคม, ความผาสุกทางจิตวิญาณ, ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายบทคัดย่อ
ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อีกทั้งผู้ป่วยต้องสูญเสียรายได้และค่าใช้จ่ายไปกับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิตได้ ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณเป็นปัจจัยสนับสนุนทางด้านจิตใจที่สำคัญของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้ผู้ป่วยอยู่กับโรคได้อย่างมีความสุข และคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มารับบริการ ณ คลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 84 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU-DI) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81, 0.78 และ 0.83 ตามลำดับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่าภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนทางสังคม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r=-0.22) การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยต่อไป
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรัง แบบองค์รวมชนิดประคับประคอง. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2560.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์. 2558;40(5):5-18.
ศยามล สุขขา. การรักษาแบบประคับประคอง:ทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย[อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2561 พฤศจิกายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=415.html
ศรีรัตน์ กินาวงศ์. ความผาสุกด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย. เชียงรายเวชสาร. 2559;8(1):131-7.
พระครูปริยัติธรรมวิบูล (ชวี อิสฺสโร), พระมหาเผื่อน กิตติโสภโณ, ลำพอง กลมกูล. รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา. รมยสาร. 2561;16(ฉบับพิเศษ):413-30.
อรญา เย็นเสมอ. ความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณและการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณ ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2560;(40)2:55-64.
เบญญาภา มุกสิริทิพานัน, ขจี พงศธรวิบูลย์, บุญทิวา สู่วิทย์, อำพันธ์ เจนสุวรรณ์, ยุพา วงศ์รสไตร. ความผาสุกทางจิตวิญญาณและความต้องการจำเป็นในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561;38(1):63-76.
รุ่งธิวา นักบุญ. ปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.
วราภรณ์ ภูคา, นพพร ว่องสิริมาศ, วารีรัตน์ ถาน้อย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางจิตใจในผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. Nursing Science Journal of Thailand. 2020;38(1):73-85.
รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, นพพร ว่องสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(1):52-61.
สุภิศา ปลูกรักษ์. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภาวะไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(1):72-80.
อรัญญา นามวงศ์, เอกพันธ์ คำภีระ, คอย ละอองอ่อน, วัชรี ไชยจันดี. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2561;19(2):97-105.
ศรินยา พลสิงห์ชาญ, คมวัฒน์ รุ่งเรือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพลังสุขภาพจิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561;10(1):129-41
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2559;9(2):132-44.
สมฤทัย เจิมไธสง. ปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นในชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วชิรสารการพยาบาล. 2562;21(2):51-66.
วริศา จันทรังสีวรกุล, จิราจันทร์ คณฑา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระในการดูแล การสนับสนุนทางสังคมและความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564;44(1):88-101.
นิซูไรดา นิมุ, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์. ปัจจัยทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเรื้อรังระยะกลับเข้าสู่การดำเนินชีวิตปกติตามวิถีการเจ็บป่วยเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลา. 2564;41(1):88-103.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานะสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 2561 ตุลาคม 26]. เข้าถึงได้จาก www.phoubon.in.th/data/data59/healthstatus_59.pdf .
สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. การปรับปรุงเครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้า KKU-DI เพื่อให้มีความไวต่อเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2553;55(2):177-89.
Schaefer C, Coyne JC, Lazarus RS. The health-related functions of social support. Journal of Behavioral Medicine. 1981; 4(4):381-405.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
ธนิญา น้อยเปียง. การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.
Polit DF, Beck CT. The content validity index: are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations. Res Nurs Health. 2006;29(5):489–97.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:จามจุรีโปรดักส์; 2549.
สิทธิพร โนรี. ความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2560;35(4):302-12.
วนิดา วิชัยศักดิ์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย, ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์. การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดหรือการล้างไตทางช่องท้องและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตโรงพยาบาลจุฬาภรณ์. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. 2561;62(1):91-105.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9