ผลของการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
คำสำคัญ:
กลุ่มช่วยเหลือตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ก่อนและหลังการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนที่เข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง กับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ จำนวน 60 คน โดยจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จับคู่ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส จำนวน 30 คู่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนกลุ่มทดลองหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=70.69, p=0.00)
2. พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=27.56, p=0.00)
แสดงให้เห็นว่า กลุ่มช่วยเหลือตนเองสามารถเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนจริง มีข้อเสนอแนะว่า ควรศึกษาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ และติดตามผลในระยะยาวต่อไป
References
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2554.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. โรคของหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ; 2555.
ประเสริฐ อัตสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ยูเนียน; 2554.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.จำนวนและอัตราผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิ.ย. 4]. เข้าถึงได้จาก: https://thaincd.com/information-statistic/non- communicable-disease-data.php
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่. สรุปรายงานจำนวนผู้ป่วยประจำปี 2563. มปท; 2563.
จินตนา ยูนิพันธุ์. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของประชาชนไทยในภาคกลาง. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
อิชญา พงษ์อร่าม. ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้สูงอายุ]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
Robinson D. Self-help groups. Br J Hosp Med. 1978 Sep;20(3):306-11.
ธนิดา ทีปะปาล, ปภาสินี แซ่ติ๋ว. การทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็ง: บทบาทของพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563; 3(2):1-14.
บุปผา ธนิกกุล, เพ็ญนภา แดงต้อมยุทธ์. ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2555;26(2):74-86.
อัญชลี ตักโพธิ์, ชมชื่น สมประเสริฐ, เอกอุมา อิ้มคำ. ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(3):109-19.
โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์; ศิริญพร บุสหงษ์, เชาวลิต ศรีเสริม, อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี. ผลของการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563; 17(2):50-61.
Walz GR, Bleuer C, editors. Developing Support Groups for Students: Helping Students Cope with Crisis. Michigan: Eric; 1992.
Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.; 1988.
Hill L, Smith N. Self-Care Nursing Promotion of Health. 2nd ed. New Jersey: Appleton & Lange; 1990.
Burns N, Grove SK. The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique, & Utilization. 5th ed. Philadelphia: Sauders; 2004.
Sadock BJ, Sadock VA, Ruiz P, editors. Kaplan and Sadock’s Comprehensive Textbook of Psychiatry. 10th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9