ผลของยา Micronized Progesterone ชนิดสอดทางช่องคลอด ในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด ในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศศิธร อาจกมล, พ.บ. โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

Micronized Progesterone, ภาวะคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยา Micronized Progesterone ในการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดที่ 37 และ 34 สัปดาห์ น้ำหนักตัวทารก ภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนของทารก  เปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ยา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนดที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลหนองบัวแดง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบเก็บข้อมูลมี 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปหญิงตั้งครรภ์ ข้อมูลการคลอด ข้อมูลทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Chi-square tests และ Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองที่ได้ยา Micronized Progesterone มีอัตราการคลอดก่อนกำหนดที่ 37 และ 34 สัปดาห์ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (21.7% : 50%; RR=0.43; 95% CI=0.23-0.84; p=0.021) และ (4.3% : 23.3% RR=0.19; 95% CI=0.04-0.84 ; p=0.025) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวทารกของกลุ่มที่ได้รับยามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาเล็กน้อยไม่มีนัยสำคัญ (2838 gm. : 2695 gm. : MD 143 gm; p=0.223) แต่อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกหลังคลอดของกลุ่มที่ได้รับยา น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญ (10.9% : 30.0% ; RR=0.36; 95% CI=0.13-0.97; p=0.035) และอัตราวันนอนโรงพยาบาลของทารกที่มากกว่าเท่ากับ 7 วัน กลุ่มที่ได้รับยาน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.3% : 23.3%; RR=0.19; 95% CI=0.04-0.84: p=0.025) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การได้รับได้ยา Micronized Progesterone ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด มีประโยชน์ในการลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อนของทารกหลังคลอด

Author Biography

ศศิธร อาจกมล, พ.บ., โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

อุ่นใจ กออนันตกุล. การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันรักษา วารสารสูตินรีแพทย์สัมพันธ์. 2562;28(1):8-15.

อนุวัฒน์ สุตัณฑวิบูลย์. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor). ใน ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์, กุศล รัศมีเจริญ, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์ (Modern Textbook of Obstetrics). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

Choi SJ. Use of progesterone supplement therapy for prevention of preterm birth: review of literatures. Obstet Gynecol Sci. 2017 Sep;60(5):405-420. doi: 10.5468/ogs.2017.60.5.405.

คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก พ.ศ. 2556-2558 และคณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556-2558. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [อินเตอร์เน็ต]. 2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2017/04/OB_014.pdf

Chaemsaithong P, Raungrongmorakot K, Promsonti P. Progesterone for prevention of preterm birth. Thai Journal of Obstretics and Gynaecology. 2012;20:222-30.

Rai P, Rajaram S, Goel N, Ayalur Gopalakrishnan R, Agarwal R, Mehta S. Oral micronized progesterone for prevention of preterm birth. Int J Gynaecol Obstet. 2009 Jan;104(1):40-3. doi: 10.1016/j.ijgo.2008.08.029.

Glover MM, McKenna DS, Downing CM, Smith DB, Croom CS, Sonek JD. A randomized trial of micronized progesterone for the prevention of recurrent preterm birth. Am J Perinatol. 2011 May;28(5):377-81. doi: 10.1055/s-0031-1274509.

da Fonseca EB, Bittar RE, Carvalho MH, Zugaib M. Prophylactic administration of progesterone by vaginal suppository to reduce the incidence of spontaneous preterm birth in women at increased risk: a randomized placebo-controlled double-blind study. Am J Obstet Gynecol. 2003 Feb;188(2):419-24. doi: 10.1067/mob.2003.41.

Hermansen CL, Lorah KN. Respiratory distress in the newborn. Am Fam Physician 2007;76(7):987-94.

O'Brien JM, Adair CD, Lewis DF, Hall DR, Defranco EA, Fusey S, Soma-Pillay P, Porter K, How H, Schackis R, Eller D, Trivedi Y, Vanburen G, Khandelwal M, Trofatter K, Vidyadhari D, Vijayaraghavan J, Weeks J, Dattel B, Newton E, Chazotte C, Valenzuela G, Calda P, Bsharat M, Creasy GW. Progesterone vaginal gel for the reduction of recurrent preterm birth: primary results from a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Ultrasound Obstet Gynecol. 2007 Oct;30(5):687-96. doi: 10.1002/uog.5158.

Chumnijarakij T, Nuchprayoon T, Chitinand S, et al. Maternal risk factors for low birthweight newborn in Thailand. J Med Assoc Thai 1992;75:445-52.

Ahuja R, Sood A, Pal A, Mittal R. Role of micronized progesterone in prevention of preterm labour in women with previous history of one or more preterm births: a research study at a tertiary care hospital. Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol. 2015 Aug;4(4);1176-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26