การศึกษาผลของภาวะอ้วนต่อการเกิดภาวะปอดบวมระดับรุนแรง ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม ในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ภาวศุทธิ์ เบิกบาน, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะอ้วน, ปอดบวม, โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของภาวะอ้วนต่อการเกิดภาวะปอดบวมระดับรุนแรงของผู้ป่วย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดสระบุรี รูปแบบการวิจัย: Retrospective cohort study กลุ่มตัวอย่าง: สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดสระบุรี โดยวิธี Stratified Sampling ตามระดับ BMI ได้ 1,183 คน เครื่องมือวิจัย: แบบเก็บข้อมูล (ข้อมูลพื้นฐาน ระดับความรุนแรง และผลการรักษา) ช่วงเวลาที่ทําวิจัย: ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ถึง 23 พฤศจิกายน 2564 วิธีดําเนินการวิจัย: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนโรงพยาบาลสระบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป โดยใช้ Multivariable logistic regression analyses

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน (BMI≥25 kg/m2) ภาวะอ้วนระดับที่ 1 (BMI 25.0-29.9 kg/m2) และภาวะอ้วนระดับที่ 2 (BMI≥30 kg/m2) มีโอกาสเกิดภาวะปอดบวมรุนแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 4.2, 95% CI=2.0-8.7, p<0.001), (OR 5.0, 95% CI=2.2-11.3, p<0.001), (OR 3.6, 95% CI=1.6-8.1, p=0.002) ตามลำดับ ปัจจัยอื่นที่มีผล ได้แก่ อายุ 60-79 ปี (OR 3.2, 95% CI=1.7-6.0, p<0.001) อายุ ≥ 80 ปี (OR 35.6, 95% CI=9.7-130.9, p<0.001) เพศชาย (OR 2.0, 95% CI=1.1-3.6, p=0.017) อาการหอบเหนื่อย (OR 3.8, 95% CI=2.2-7.2, p<0.001) และได้รับวัคซีน ≥ 2 เข็ม (OR 0.1, 95% CI=0.01-0.70, p=0.022) สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีภาวะอ้วน (BMI≥25 kg/m2) มีโอกาสเกิดภาวะปอดบวมรุนแรงเป็น 4.2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวปกติ

Author Biography

ภาวศุทธิ์ เบิกบาน, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสระบุรี

นายแพทย์ชำนาญการ

References

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 [Internet]. [cited 2021 Dec 6]. Available from: https://online.fliphtml5.com/bcbgj/znee/

COVID-19 and Obesity: The 2021 Atlas | World Obesity Federation [Internet]. [cited 2021 Dec 4]. Available from: https://www.worldobesity.org/resources/resource-library/covid-19-and-obesity-the-2021-atlas

Steinberg E, Wright E, Kushner B. In Young Adults with COVID-19, Obesity Is Associated with Adverse Outcomes. West J Emerg Med. 2020 Jun 15;21(4):752–5.

Cai Q, Chen F, Wang T, Luo F, Liu X, Wu Q, et al. Obesity and COVID-19 Severity in a Designated Hospital in Shenzhen, China. Diabetes Care. 2020 Jul;43(7):1392–8.

Jayanama K, Srichatrapimuk S, Thammavaranucupt K, Kirdlarp S, Suppadungsuk S, Wongsinin T, et al. The association between body mass index and severity of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19): A cohort study. PLoS ONE. 2021 Feb 16;16(2):e0247023.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 [Internet]. 2021 [cited 2021 Dec 4]. Available from: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=155

Organization WH. The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment. 2000;

Novel Coronavirus (2019-nCoV) situation reports [Internet]. [cited 2022 Jan 9]. Available from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports

Ross R, Neeland IJ, Yamashita S, Shai I, Seidell J, Magni P, et al. Waist circumference as a vital sign in clinical practice: a Consensus Statement from the IAS and ICCR Working Group on Visceral Obesity. Nat Rev Endocrinol. 2020 Mar;16(3):177–89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-22