รูปแบบการดำเนินงานการจัดการภาวะซีดในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นภัสวรรณ ชนะพาล, พ.บ. โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการภาวะซีด, นักเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการภาวะซีดในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินงาน และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ การศึกษาแบ่งเป็นสองส่วนคือการศึกษาเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงประมาณ การศึกษา
เชิงคุณภาพเจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 46 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นเด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ G*Power version 3.1.9.4 จำนวน 30 คู่ของนักเรียนและผู้ปกครอง สุ่มด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับศึกษาสภาพและปัญหา 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับสร้างและพัฒนารูปแบบ 3) แบบสอบถามสำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ 4) แบบบันทึกระดับเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทีแบบไม่อิสระ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า อำเภอแก้งคร้อมีการตรวจคัดกรองภาวะซีดในนักเรียน ร้อยละ 51.22 พบภาวะซีด ร้อยละ 39.60 ได้รับการรักษา ร้อยละ 22.94 ไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน รูปแบบการดำเนินงานมี 4 ขั้นตอน คือ 1) วางแผนการดำเนินงาน 2) ตรวจคัดกรองตามแนวปฏิบัติ 3) อบรมให้ความรู้ และ 4) การส่งเสริมสุขภาพ รูปแบบนี้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}±SD=4.52±0.22) ก่อนการใช้รูปแบบ นักเรียนมีค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเฉลี่ยที่ร้อยละ 31.67 และหลังการใช้รูปแบบที่ร้อยละ 34.75 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.08 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.01) ก่อนการใช้รูปแบบผู้ปกครองมีระดับพฤติกรรมการดูแลเกี่ยวกับอาหารระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}±SD=3.09±0.37) หลังการใช้รูปแบบเพิ่มขึ้นเป็นระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}±SD=4.53±0.16) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.03) และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}±SD=4.05±0.32)

Author Biography

นภัสวรรณ ชนะพาล, พ.บ., โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

ชาญชัย ไตรวารี. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, บทบรรณาธิการ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตรบริการโลหิต. 2562;29(1):5-7.

Stevens GA, Finucane MM, De-Regil LM, Paciorek CJ, Flaxman SR, Branca F, Peña-Rosas JP, Bhutta ZA, Ezzati M; Nutrition Impact Model Study Group (Anaemia). Global, regional, and national trends in haemoglobin concentration and prevalence of total and severe anaemia in children and pregnant and non-pregnant women for 1995-2011: a systematic analysis of population-representative data. Lancet Glob Health. 2013 Jul;1(1):e16-25. doi: 10.1016/S2214-109X(13)70001-9. Epub 2013 Jun 25. PMID: 25103581; PMCID: PMC4547326.

McLean E, Cogswell M, Egli I, Wojdyla D, de Benoist B. Worldwide prevalence of anaemia, WHO Vitamin and Mineral Nutrition Information System, 1993-2005. Public Health Nutr. 2009 Apr;12(4):444-54. doi: 10.1017/S1368980008002401. Epub 2008 May 23. PMID: 18498676.

อัญชลี ภูมิจันทึก ชัชฎา ประจุดทะเก, ประดับ ศรีหมื่นไวย. สถานการณและปจจัยที่มีผลตอภาวะซีดในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 9. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2562;13(31):178-90.

WHO/UNICEF. Focusing on Anemia: Towards an Integrated Approach for Effective Anemia Control. New York: World Health Organization; 2004.

สำนักโภชนาการ. รายงานประจำปี สำนักโภชนาการ 2564. นนทบุรี: กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

วิปร วิประกษิต. แนวทางในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางในเด็ก (Approach to Childhood Anemia). วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2557;24(4):395-405.

ผกาทิพย์ ศิลปมงคลกุล. การวินิจฉัยภาวะซีดในเด็ก. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2556;13(2):253-61.

พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด, ปณิธาน กระสังข์. แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสาหรับนักสาธารณสุข. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2560;6(2):128-35.

พัสตราภรณ์ แก้วพะวงค์, เกียรติกำจร กุศล, จิราภรณ์ สรรพวีรวงค์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(5):75-80.

วศินี ติตะปัญ. ความชุกของภาวะโลหิตจางและผลการรักษาด้วยการให้ธาตุเหล็กทดแทนในเด็กอายุ 9-12 เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2564;13(2):103-22.

ศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล, ทิวาพร ผลวัฒนะ. การพัฒนารูปแบบบริการปองกันและแกไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสงเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมลานนา 2561;8(1):9-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23