การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบำบัดยาเสพติด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ ตติยนันทพร, พ.บ. โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ครอบครัวและชุมชน, การป้องกันและบำบัดยาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและรักษายาเสพติด อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและรักษายาเสพติด การวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคเดลฟายโดยเจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้นำชุมชน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตัวแทนครอบครัวผู้ติดยาเสพติด จำนวน 27 คน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครอบครัวผู้ติดยาเสพติดที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบอ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ G*Power version 3.1.9.4 จำนวน 30 คน สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบ ตามกระบวนการเดลฟายครั้งที่หนึ่ง 2) แบบสอบถามสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบ ตามกระบวนการเดลฟายครั้งที่สอง 3) แบบสอบถามสำหรับการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ 4) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษายาเสพติด ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทีแบบไม่อิสระ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและรักษายาเสพติด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน 2) วางแผนการดำเนินงาน 3) ปฏิบัติการรักษาผู้ยาเสพติด 4) ร่วมติดตามและประเมินผล และ 5) การดูแลระยะยาวหลังการรักษา ก่อนการใช้รูปแบบตัวแทนครอบครัวผู้ติดยาเสพติดที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและรักษายาเสพติดในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}±SD=3.38±0.49) หลังการใช้รูปแบบ การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก (gif.latex?\bar{X}±SD=4.23±0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

นิภาวรรณ ตติยนันทพร, พ.บ., โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. สถิติจำนวนและร้อยละของคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีในสถานพินิจและคุมครองเด็กและเยาวชน. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 10] เข้าถึงได้จาก: http://www2.djop.moj.go.th/media/k2/attachments/back_officnd.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิ. Best Practice ประจำปี 2564 การจัดทำแผนที่สถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชัยภูมิ; 2564.

คำสั่งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ที่ 3/2561 เรื่อง แผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ม.ค. 10] เข้าถึงได้จาก: www.nccd.go.th/upload/ news/2(29).

มานพ คณะโต. โครงการศึกษาสถานการณ์และการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รูปแบบการดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร;2552.

สมบัติ นามบุรี. ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ 2562;2(1):183-197.

พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด, ปณิธาน กระสังข์. แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 2560;6(2):128-35.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences, 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates;1988.

ชฎากาญจน์ ชาลีรัตน์, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. รูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2565;2(1):49-68.

อณัญญา ขุนศรี, พรสุข หุ่นนิรันดร์. รูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564;6(11):82-98.

สาธนี เปรมปรีดิ์, อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด, กฤษดา ผ่องพิทยา. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;14(1):53-64.

พาตีีเมาะ นิิมา, ลุุฏฟีี หะยีีหมััด, รอซีีดีี เลิิศอริิยะพงษ์์กุุล. ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจทางสุขภาพต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเสพยาเสพติดของเยาวชนในชุมชนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2565;28(1):127-42.

นฤมล มีนา, วีระพร ศุทธากรณ์. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการพัฒนาทักษะชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในเด็กและเยาวชนที่ได้รับการติดตามโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. พยาบาลสาร. 2561;45(2):88-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29