ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของคนในชุมชนตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ปร.ด. วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนในชุมชนตำบลดงบัง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลดงบังที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 406 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ใช้ Chi-square test

ผลการวิจัย พบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างที่ยังคงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ ร้อยละ 00 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 81.72 มีอาชีพเกษตรกรรม และมีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท/เดือน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มมากที่สุดคือเบียร์ รองลงมาคือเหล้าขาว ในส่วนความถี่ของการดื่ม ส่วนใหญ่จะดื่มสัปดาห์ละ 1-2 วัน/สัปดาห์ ซึ่งปริมาณการดื่มในแต่ละครั้ง ดื่มปริมาณน้อย (เบียร์ 1-1.5 กระป๋อง หรือเหล้า 2-3 ฝา) ร้อยละ 46.3 รองลงมาดื่มปริมาณมาก (เบียร์ 5-7 กระป๋อง หรือเหล้าสามในสี่ส่วนแบน) ร้อยละ 21.10

2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ความแตกต่างของเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ และรายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ได้

Author Biography

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ปร.ด., วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

References

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992); 2562.

ทักษพล ธรรมรังสี, บรรณาธิการ. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2556.

กฤษฏ์ โพธิ์ศรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559; 13(2):8-16.

ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การบริโภคและนโยบายการป้องกันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม; 2560.

ปรีชา ยะถา, ยุทศาสตร์ แก้ววิเศษ.การพัฒนารูปแบบการดำเนินการงานบุญงานศพปลอดเหล้าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2560; 1(2):63-73.

Parel CP, Caldito GC, Ferrer PL, De Guzman GG, Sinsioco CS, Tan RH, editors. Sampling design and procedures. New York: AIDIC; 1973.

จรณิต แก้วกังวาน, ประตาป สิงหศิวานนท์.ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. ใน: พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร, บรรณาธิการ. ตำราการวิจัยทางคลินิก (Textbook of clinical research). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556: 107-44.

เพียงพิมพ์ ปัณระสี, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีวัยแรงงานภาคเกษตรกรรม.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562; 13(3):143-58.

ธัญวรัตน์ แจ่มใส, กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์, อนุพันธ์ ประจํา, ศรณรงค์ ปล่องทอง.การศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและ ชุมชน และทัศนคติที่มีต่อวัฒนธรรมการดื่มของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว กูย และเขมร: กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2561.

Newman, B. M., & Newman, P. R. Development through life: A psychosocial approach (5th ed.). Pacific Grove, CA: Cole Publishing Company; 1991.

Bronfenbrenner, U.,editor. Making human beings human: Bioecological perspectives on human development. CA: Sage; 2005.

พัชรพรรณ คูหา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

มุทิตา พ้นภัยพาล, อัมพร บวรทิพย์. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาคณะพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(1):77-90.

รัตติยา บัวสอน, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับ ปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2555;18(2):259-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-10