ผลของการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าด้วยตนเองของประชาชนในชุมชน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ทุมนันท์, พ.บ. โรงพยาบาลตระการพืชผล อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, เครื่องมือคัดกรองโรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าด้วยตนเองของประชาชน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าเชิงรุกด้วยการส่งแบบประเมินออนไลน์คัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) ในแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในชุมชน ให้เฝ้าระวังโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง 2 รอบ คือ เมื่อเริ่มต้นศึกษา และเมื่อติดตามผล 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon sign-ranked test และ Pearson chi-squared test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 61.14 อายุเฉลี่ย 52.40±14.79 ปี ก่อนการทดลองมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 34.29 หลังการทดลองเหลือร้อยละ 13.71 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า (9Q ≥ 7) ร้อยละ 13.33 ซึ่งได้ส่งให้พยาบาลจิตเวชประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) พร้อมส่งปรึกษาจิตแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษา เมื่อติดตามผลการรักษาพบผู้ป่วยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเล็กน้อยลดลงเหลือร้อยละ 5.00 ดังนั้น การที่ทุกครัวเรือนมีคนที่สามารถเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าตามแบบประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม ทำให้สามารถคัดรองผู้ที่มีอาการซึมเศร้า หรือผู้ป่วยรายใหม่เข้าสู่กระบวนการรักษาและสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่องเพื่อลดการเกิดภาวะซึมเศร้าในชุมชน

Author Biography

จุไรรัตน์ ทุมนันท์, พ.บ., โรงพยาบาลตระการพืชผล อุบลราชธานี

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3/2557 [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กุมภาพันธ์ 7]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidepression.com/www/58/guidebookdepress.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

World Health Organisation. International classification of diseases, 10th revision (ICD-10). Geneva, Switserland: World Health Organisation; 1990.

พรรณพิไล วิริยะ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(พิเศษ):1-16.

สุรชัย คำภักดี. ความชุกของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ. 2555;27(2):108-12.

ศูนย์ความรู้โรคซึมเศร้าไทย. รายงานการเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 27]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/www/report/main_report/.

ชาญวิชญ์ โพธิสุวรรณ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลบุณฑริก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. 2562;12(1):20-4.

พิกุล ทับวิธร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสุขร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. 2563;13(2):590-601.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30(3):607-10.

สุวรรณา อรุณไพศาล, ธรณินทร์ กองสุข, ณรงค์ มณีทอน. การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถาม ในชุมชนไทยอีสาน: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 24]. เข้าถึงได้จาก: https://suicide.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=4901

ธรณินทร์ กองสุข. คู่มือผู้เข้ารับการอบรมแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. ศูนย์โรคซึมเศร้าไทย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ต; 2553.

ศูนย์ความรู้โรคซึมเศร้าไทย. แนวทางการรักษาด้วยยา [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 27]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/2020/web/index.php?r=news%2Fview&id=231.

อังคณา ช่วยค้ำชู. ผลของการให้คำปรึกษาตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีโรคซึมเศร้าร่วม. Thai Journal of Nursing Council. 2555;26(1):70-80.

ศิริลักษณ์ ผ่องจิตสิริ. ความชุกและปัจจัยทำนายโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(5):81-6.

อารีย์ สงวนชื่อ, ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, รัตนา ภรณ์อาษา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2562;14(2):277-87.

จุลารักษ์ เทพกลาง. การพัฒนาระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(1):70-7.

ปรีดา เจริญโภคทรัพย์. ผลของการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะซึมเศร้าโดยใช้วิถีพุทธธรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น. 2560;1(1):25-35.

สำนักพัฒนาสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต. คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2556.

สรร กลิ่นวิชิต, พวงทอง อินใจ, พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต. การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังตามแนวทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ปีที่ 1: ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือความรู้สุขภาพจิตชุมชนสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต; 2546.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดำเนินงานสุขภาพจิตในศูนย์สุขภาพชุมชนนนทบุรี. นนทบุรี สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต; 2547.

นพวัฒน์ เพ็งคำศรี. โรคซึมเศร้า การรักษาด้วยยาและสติบำบัด. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กุมภาพันธ์ 7]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=853.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-09