การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมาย ABC 6-D จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปาริชาต ญาตินิยม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันภาวะพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ การพัฒนารูปแบบและการสร้างนวัตกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 และ 2 เป็นการเตรียมพื้นที่และศึกษาสถานการณ์ โดยใช้ผู้สูงอายุ 533 คน ระยะ 3 และ 4 ดำเนินการวิจัยและประเมินผล โดยใช้ผู้สูงอายุ 60 คน ผู้ดูแล 60 คน และภาคีเครือข่าย 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและพร่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม 2) รูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นในทุกกระบวนการ ได้แก่ การประเมินภาวะเสี่ยง การให้ความรู้ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน การคืนข้อมูลแก่ชุมชน และการประเมินผล ผลการประเมินพบว่า ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัว ในระหว่างก่อนและหลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยทรงตัวอยู่ในช่วงเวลาน้อยกว่า 13.45 วินาที 27 คน (ร้อยละ 46.67) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรม และช่วงเวลามากกว่า 20 วินาที ลดลงเหลือ 14 คน (ร้อยละ 23.33) และผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.52, SD=0.71) 3) นวัตกรรมด้านการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่พัฒนาร่วมกัน คือ การใช้ยางยืดหรรษา ประกอบการออกกำลังกายและมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.48, SD=0.74)

Author Biographies

จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์พยาบาล

ปาริชาต ญาตินิยม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์พยาบาล

ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2565.

United Nations. World Population Prospects The 2019 Revision [Internet]. 2019 [Cited 2023 May 3]. Available from: https://population.un.org

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai Elderly 2019. Puttamonton, Nakorn Pathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2019.

กรมกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึง เมื่อ 2565 พ.ค. 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา; 2561.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบ บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีสภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. รายงานประจำปี 2565. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ; 2565.

ปาริชาต ญาตินิยม, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์. การสำรวจความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2564. รายงานการประเมินผลโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2565. ชัยภูมิ; คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. รายงานประจำปี 2565. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง; 2565.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. รายงานประจำปี 2565. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแท่น; 2565.

นงนุช เชาวน์ศิลป์, พิมสุภาว์ จันทนะ โสตถิ์, จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2563.

นงพิมล นิมิตรอานันท์, วิชุดา กลิ่นหอม, เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ, ชลทิพย์ ทิพย์แก้ว. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(2): 389-99.

พรรณวรดา สุวัน, ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, สุปรีดา อินทรสงเคราะห์, อัญชลี อ้วนแก้ว, สุภาพักตร์ หาญกล้า. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัย ตามหลัก10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารแพทย์นาวี. 2563; 47(2):414-31.

ทิพวรรณ โคตรสีเขียว, ดิษฐพล ใจซื่อ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565; 4(2):255-69.

Heinrich HW, Peterson D, Roon N. Industrial Accident Prevention: A Scientific Approach. New York: McGraw-Hill; 1931.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong Australia: Deakin University Press; 1988.

Joint Committee on Standards of Educational Evaluation. The Program Evaluation Standards. 2nd ed. London: SAGE Publications; 1994.

Cradler J. Authentic Assessment: Finding the Right Tool. Educational Leadership. 1991; 48(1):20-5.

Daniel WW. Determination of sample size for estimating propositions. In Daniel WW, editor. Biostatistics: A foundation for analysis in the health science. New York: John Wiley & Sons; 2010.

Podsiadlo D, Richardson S. The timed "Up & Go": a test of basic functional mobility for frail elderly persons. J Am Geriatr Soc. 1991 Feb;39(2):142-8. doi: 10.1111/j.1532-5415.1991.tb01616.x.

Heinrich HW, Peterson D, Roos N. Industrial Accident Prevention. 5th ed. New York: McGraw Hill,1980.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คําอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(32):44-62.

ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคา, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ศรีเพ็ญ ตันติเวส. สถานการณ์ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 2562;6(1):57-68.

สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม, อัมภิชา นาไวย์. การหกล้ม ความกลัวการหกล้ม และการจำกัดกิจกรรมเนื่องจากกลัวหกล้ม ในผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชน ชานเมืองเชียงใหม่. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(1): 22-38.

ภัณฑิลา ผ่องอำไพ, สุธีรา ฮุ่นตระกูล, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัว ต่อความสามารถในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์นาวี. 2561;45(2): 311-27.

Granbom M, Clemson L, Roberts L, Hladek MD, Okoye SM, Liu M, et al. Preventing falls among older fallers: study protocol for a two-phase pilot study of the multicomponent LIVE LiFE program. Trials. 2019 Jan 3;20(1):2. doi: 10.1186/s13063-018-3114-5.

Eunice OO, Ladda T. Effects of Nurse-Led Fall Prevention Programs for Older Adults: A Systematic Review. Pacific Rim Int J Nurs Res. 2022; 26(3):417-31.

ณัฐกฤตา ศิริโสภณ. ประสิทธิผลของนวัตกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(พิเศษ): 495-504.

ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. ผลการดำเนินงานฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. ราชบุรี: ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลราชบุรี; 2564.

Ba HM, Maasalu K, Duy BH. Reducing Falls among Asian Community-dwelling Older People through Fall Prevention Programs: An Integrative Review. Pacific Rim Int J Nurs Res. 2022;26(4): 658-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03