ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • นาตยา ดวงประทุม สาขาวิชาสุขภาพและความงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ฉัตรประภา ศิริรัตน์ กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการจัดการขยะ, ขยะมูลฝอยครัวเรือน, การคัดแยกขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 360 ครัวเรือน ใช้การสุ่มแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแทนครัวเรือนเกินกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.8 อายุเฉลี่ย 45.4 ปี มีการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในระดับดี ร้อยละ 73.6 (gif.latex?\bar{x}=3.82, SD=0.251) มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในระดับสูง ร้อยละ 52.2 (gif.latex?\bar{x}=7.85, SD=1.310) และมีทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.9 (gif.latex?\bar{x}=3.67, SD=0.426) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนตำบลคลองควาย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยข้อมูลทั่วไป คือ เพศ และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยของครัวเรือน และปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิธีกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน ผลจากการวิจัยนี้ แม้ว่าพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในภาพรวมจะอยู่ในระดับดี แต่ยังพบปัญหาปริมาณขยะจำนวนมาก และมีการคัดแยกเฉพาะขยะที่สามารถนำไปจำหน่ายได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดปัญหาขยะตกค้าง

References

กรมควบคุมมลพิษ. องค์ความรู้ “การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม” [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/05/pcdnew-2022-05-11_03-54-14_380591.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2564

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pathumthani.go.th/new_web/webplan/index.html

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย. ข้อมูลพื้นฐานตำบลคลองควาย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: http://www.khlongkhwai.go.th/index.php

จรูญ ฟูเทพ. การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนวัดเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2560.

ยุพา อยู่ยืน, อิมรอน มะลูลีม, วลัยพร ชิณศรี. การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี [การค้นคว้าอิสระ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

สุกัลญา ไวเขตกรณ์. ความต้องการบริการสาธารณสุขมูลฐานของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี. แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2560-2564 จังหวัดปทุมธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mnre.go.th/attachment/iu/download.php

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย. จำนวนประชากรและครัวเรือน ตำบลคลองควาย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ต.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: http://www.khlongkhwai.go.th/general1.php

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

Bloom BS. What We Are Learning about Teaching and Learning: A Summary of Recent Research. Principal.1968;66:6-10.

Best JW. Research in Education. 6th edition. New Delhi, India: Prentice-Hall; 1989.

วราวุฒิ มหามิตร. แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกับกระบวนวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 2563;2(3):11-23.

สมใจ เป้าทอง, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, วรัศกรณ์ สุดสาคร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนตำบลบางเป้า อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2562;2(1):12-22.

ประเวทย์ ยาแปง, สามารถ ใจเตี้ย, สิวลี รัตนปัญญา. ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ด้วยแนวคิดขยะเป็นศูนย์ เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 2566;14(2):36-49.

วีรวัลย์ แก้วบุญชู, วนิพพล มหาอาชา, เสรี วรพงษ์, ธเนศ เกษศิลป์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2562; 1561-70.

ศรีจุดารัตน์ รักงาน. การรับรู้ และพฤติกรรมการจัดการขยะของพนักงานกลุ่มงานขนส่งสินค้าในธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

ทรงศักดิ์ วลัยใจ. กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนมีส่วนร่วม เทศบาลตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระ]. เชียงใหม่: สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04