การสังเคราะห์วรรณกรรมด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2565

ผู้แต่ง

  • มธุรส สว่างบำรุง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • หนึ่งหทัย ชัยอาภร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เมธี วงศ์วีระพันธุ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ, การสังเคราะห์วรรณกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยวิเคราะห์เอกสารมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วรรณกรรมด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุและเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีในการดูแลป้องกันด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2565 ประชากร คือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพลัดหกล้มของผู้สูงอายุ จำนวน 30 รายการ ที่สืบค้นจาก 3 ฐานข้อมูล ได้แก่ ThaiJO, Research Gateway Common Service และ Google.co.th เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 

ผลวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้านการพัฒนาโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ จำนวน 15 รายการ คิดเป็นร้อยละ 50.00 การสังเคราะห์วรรณกรรมด้านการวิจัยอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดมิติ 4 ด้าน ได้แก่ มิติที่ 1) ด้านสถานการณ์การแพทย์ฉุกเฉิน การประเมินความเสี่ยง และข้อเสนอแนะของนโยบายในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ  มิติที่ 2) ด้านทัศนคติ การรู้คิด อารมณ์และพฤติกรรมในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ มิติที่ 3) ด้านปัจจัยที่ส่งผล หรือมีความสัมพันธ์กับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ และมิติที่ 4) ด้านการพัฒนาโปรแกรม รูปแบบ การฟื้นฟูและมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ความเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีในการดูแลป้องกันการพลัดตกหกล้มทั้งหมดมี 7 แนวคิด ประกอบด้วย 1) แนวคิดนโยบายการแพทย์ฉุกเฉิน 2) ทฤษฎีทัศนคติความสมดุล 3) ทฤษฎีปัจจัยนํา ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม 4) ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพ  5) ทฤษฎีในการดูแลตนเอง  6) แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ  และ 7) แนวคิดสาธารณสุข

Author Biographies

มธุรส สว่างบำรุง, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์

หนึ่งหทัย ชัยอาภร, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เมธี วงศ์วีระพันธุ์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อาจารย์

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สังคมสูงวัยใส่ใจพลัดตกหกล้ม [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2567 กุมภาพันธ์ 19] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1157520210624083452.pdf

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 2567 กุมภาพันธ์ 19] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/violence

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กุมภาพันธ์ 19] เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=

ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ปัญหาที่ต้องระวัง. [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 2567 กุมภาพันธ์ 19] เข้าถึงได้จาก: https://www.nakornthon.com/article

Scott J. A Matter of Record: Documentary sources in social research. Cambridge: Polity Press; 1990.

ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคำ, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. สถานการณ์ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 2562;6:57-68.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม, วรัญญา มณีรัตน์, จุฑามาศ เมืองมูล. ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(4):132-141.

นิชดา สารถวัลย์แพศย์, สมยศ ศรีจารนัย, เมทณี ระดาบุตร, ปัฐยาวัชร ปรากฎผล, วนิดา ชวเจริญพันธ์, ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์. การพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2562;11(1):95-106.

วนิดา ราชมี, ทิพย์วรรณ จูมแพง, ลลิตา สุกแสงปัญญา. รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 6. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

HEIDER F. Attitudes and cognitive organization. J Psychol. 1946 Jan;21:107-12. doi: 10.1080/00223980.1946.9917275.

Green LW, Kreuter MW, Deeds SG, Partridge KB. Health education planning: a diagnostic approach. California: Mayfield Publishing Company; 1980.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 5th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc; 2006.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine. 2008;67(12):2072-78.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธันวาคม 25] เข้าถึงได้จาก: https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (UCEP) เจ็บป่วย"ฉุกเฉินวิกฤต" มีสิทธิทุกที่ "โดยไม่ต้องสำรองจ่าย”. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธันวาคม 25] เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights_emergency_patients

ชัชชฎาภร พิศมร, จันทกานต์ อุ่นถิ่น, ดวงฤทัย เชียงแขก, ทองสาย ใจคํา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไคร้ ตำบลหนองหล่ม จังหวัดลําปาง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 2566;21(2):140-52.

ถนอม นามวงศ์, นริศรา อารีรักษ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัดยโสธร. วารสารควบคุมโรค. 2566;49(1):158-66.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สินทวีการพิมพ์; 2562.

สรุปผลการจัดการความรู้ “การบูรณาการงานวิจัยระหว่างสาขา”. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ2566 มกราคม 14] เข้าถึงได้จาก: https://scia.chanthaburi.buu.ac.th/documents/km010.pdf

วันทนีย์ กุลเพ็ง, ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, วิทธวัช พันธุมงคล, จิตติ วิสัยพรม, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. รายงานการวิจัยเรื่อง รายงานการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โครงการศึกษาการดำเนินมาตรการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนในประเทศไทย. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05