การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานเก็บขยะในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย สิงห์สุ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วริยา เคนทวาย สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ชุลี โนจิตร สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ศรายุทธ พิริยะเบญจวัฒน์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิชุดา จันทะศิลป์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กนกพร สมพร สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงการยศาสตร์, อาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พนักงานเก็บขยะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ของพนักงานเก็บขนขยะ และความชุกอาการเจ็บปวดทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานเก็บขนขยะในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินท่าทางร่างกายทุกส่วน (Rapid Entire Body Assessment-REBA) และแบบสอบถามอาการผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ระดับความเสี่ยง

ผลศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 76.70 มีอายุช่วง 30-40 ปี ร้อยละ 66.70 มีประสบการณ์การทำงาน 1–3 ปี ร้อยละ 80.00 ระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ลักษณะท่าทาง การทำงานของกลุ่มตัวอย่างโดยการดึงจำนวน 8 คน มีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 50.00 การยกจำนวน 15 คน มีระดับความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 86.67 และการลากจำนวน 7 คน มีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 57.17 และกลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกายในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 3 อันดับแรก พบมากที่สุดบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 100.00 รองลงมาได้แก่ เข่า ร้อยละ 63.30 และส่วนไหล่ ร้อยละ 56.70 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา พนักงานเก็บขยะในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีท่าทางในการทำงานอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมาก และพบความชุกอาการเจ็บปวดระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อมากที่สุดในบริเวณหลังส่วนล่าง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงท่าทางการทำงานต่อไป

Author Biographies

สิทธิชัย สิงห์สุ, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

วริยา เคนทวาย, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

ชุลี โนจิตร, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

ศรายุทธ พิริยะเบญจวัฒน์, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

อาจารย์

วิชุดา จันทะศิลป์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์

กนกพร สมพร, สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อาจารย์

References

Dianat I, Karimi MA. Musculoskeletal symptoms among handicraft workers engaged in hand sewing tasks. J Occup Health. 2016 Nov 29;58(6):644-652. doi: 10.1539/joh.15-0196-OA.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์การดําเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ปีงบประมาณ 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธันวาคม 18]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/report2561.pdf

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. การคัดกรอง ความเสี่ยงจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพเก็บ คัดแยก และ รีไซเคิลขยะ: โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จากการคัดแยกและรีไซเคิลขยะในพื้นที่เสี่ยงสูง เพื่อลดความ เหลื่อมล้ำทางสุขภาพประชาชน ปีงบประมาณ 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2566 เมษายน 12]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1296520220722025810.pdf

Mehrdad R, Majlessi-Nasr M, Aminian O, Sharifian SA, Malekahmadi F. Musculoskeletal disorders among municipal solid waste workers. Acta Medica Irannica. 2008;46(3):233-8.

วิราภรณ์ ทองยัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค และการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A, Vinterberg H, Biering-Sørensen F, Andersson G, Jørgensen K. Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Appl Ergon. 1987 Sep;18(3):233-7. doi: 10.1016/0003-6870(87)90010-x.

Hignett S, McAtamney L. Rapid entire body assessment (REBA). Appl Ergon. 2000 Apr;31(2):201-5. doi: 10.1016/s0003-6870(99)00039-3.

ณัฐพล พิมพ์พรมมา. การประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงานและความเมื่อยล้าของพนักงานเก็บขยะในเขตอำเภออำทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(3):225-38.

พีรพงษ์ จันทราเทพ, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2554;4(2):49-58.

สุทรรศน์ สิทธิศักดิ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานเก็บขยะเทศบาลนครพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ] กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03