การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมด้วยกระบวนการชุมชนเพื่อสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
นวัตกรรมทางสังคม, สุขภาวะ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคมด้วยกระบวนการชุมชนเพื่อสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนและนวัตกรรมทางสังคมที่มีอยู่ในตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ และ ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินกิจกรรมและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 แบบประเมินสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2565-มีนาคม 2566
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุด้วยกระบวนการชุมชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ และความต้องการของชุมชน 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและวางแผนกิจกรรมร่วมกัน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนกิจกรรม และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยนวัตกรรมทางสุขภาพที่พัฒนาร่วมกัน จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ มี 5 ชิ้นงาน ได้แก่ กะลาพาทรงตัว เก้าอี้หรรษาพาออกกำลังกาย ล้อปั่นพาเพลิน นวัตกรรมลูกประคบสมุนไพร และชุดกิจกรรมป้องกันภาวะสมองเสื่อม ผลการประเมินความพึงพอใจภายหลังการดำเนินกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.18 (SD=0.69) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนการรับรู้สุขภาวะของตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2564.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมผู้สูงอายุ 6 Sustainable 4 Change (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.
ปณิธี บราวน์. พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและ “ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ.วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557;31(3):98-120.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น; 2560.
วรเวศม์ สุวรรณระดา. สังคมสูงวัยกับผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2556.
Richardson R, Marques P, Morgan K. Smart Specialisation for Regional Innovation: Social Innovation for an Age Friendly Society [Internet]. 2014 [cited 2022 Jan 9]. Available from: https://orca.cardiff.ac.uk/id/eprint/78212/1/smartspec%20for%20an%20age%20friendly%20society.pdf
ทรงศักดิ์ รักพ่วง, ภุชงค์ เสนานุช. นวัตกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ: ความสำคัญต่อสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 2562;7(2):205-15.
ชานนท์ โกมลมาลย์. นวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 2561;26(1):120-45.
ประเวศ วะสี. วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา. นครปฐม: ศูนย์จิตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
Cohen JM, Uphoff NT. Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. New York: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell: Cornell University; 1981.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. นนทบุรี: ณจันตา ครีเอชั่น; 2564.
ระพีพรรณ คำหอม, วรลักษณ์ เจริญศรี, เล็ก สมบัติ. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุกับทางเลือกการลดความเหลื่อมล้ำของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2562.
บุญชัย ภาละกาล. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ในกระบวนการดำเนินงานอนามัยชุมชนบทเรียนในการนำทฤษฎีสู่การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในชุมชน. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 2557;24(1):1-11.
พระครูประภากรสิริธรรม (เกษม สุวัณโณ). การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชุมชนท่าอิฐ วัดแสงสิริธรรม ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2560.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric syndromes). นนทบุรี: อิส ออกัส; 2558.
จรัสวรรณ เทียนประภาส, พัชรี ตันศิริ. การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: เจริญกิจ; 2536.
TEPSIE. Social Innovation Theory and Research: A Guide for Researchers [Internet]. 2014 [cited 2022 Jan 9]. Available from: https://youngfoundation.b-cdn.net/wp-content/uploads/2015/04/YOFJ2785_Tepsie_A-guide_for_researchers_06.01.15_WEB.pdf?x18753
ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, สุรีย์ ธรรมิกบวร, สุรสม กฤษณะจูฑะ. โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. 2560;14(1):133-62.
ณรงค์กร ชัยวงศ์, รัชนี ผิวผ่อง, เพิ่มพูล บุญมี, เยี่ยม คงเรืองราช. การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์: กรณีศึกษาชุมชนตําบลกลันทา อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(3): 357-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9