ยางยืด หรรษา: นวัตกรรมสุขภาพด้านการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปาริชาต ญาตินิยม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสุขภาพ, การป้องกัน, การพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การพลัดตกหกล้ม ทำให้ผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บ สูญเสียความสามารถในการทรงตัว การดูแลตนเองและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อครอบครัวด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและอาจเกิดปัญหาด้านจิตใจตามมาได้ โดยสถานการณ์ด้านการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร และตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เมื่อทำการคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้ม (TUGT) พบว่ามีความเสี่ยง ร้อยละ 20.49 และ 21.77 ตามลำดับ จึงได้พัฒนานวัตกรรมสุขภาพ “ยางยืดหรรษา” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงกระตุ้นการเคลื่อนไหวของแขนขาที่มีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรมนี้ ได้แก่ การประชุมเพื่อระดมสมอง การจัดทำนวัตกรรมด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ในชุมชน การออกแบบท่าที่ใช้ในการออกกำลังกายที่สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสุขภาพ โดยความร่วมมือของชุมชนและนำไปสู่การมีภาวะสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Author Biographies

จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์พยาบาล

ปาริชาต ญาตินิยม, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์พยาบาล

ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี. จํากัด; 2565.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ: ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

Unal E, Ozdemir A. Old Age and Aging, In CHERNOPOLSKI PM, SHAPEKOVA NL, SANÇAR B, AK B (Eds.). Recent Studies in Health Sciences. Sofia, Bulgaria: St. Kliment Ohridski University Press, Sofia, 2019: 414-24.

Schoene D, Heller C, Aung YN, Sieber CC, Kemmler W, Freiberger E. A systematic review on the influence of fear of falling on quality of life in older people: is there a role for falls? Clin Interv Aging. 2019 Apr 24;14:701-719. doi: 10.2147/CIA.S197857.

World Health Organization. Preventing injuries and violence: an overview [Internet]. 2022. [Cited: 2023 Jan. 17]. Available from: https://reliefweb.int/report/world/preventing-injuries-and-violence-overview

การป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงจำนวนและอัตราผู้ป่วยนอกจากการพลัดตกหกล้มและผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรผู้สูงอายุแสนคน จำแนกรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2561-2566 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ: 2566 ม.ค. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3470120230612083716.pdf

การป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ: 2566 ม.ค. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=23567&deptcode=

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ค่าเป้าหมายของอัตราผู้ป่วยในจากสาเหตุพลัดตกหกล้มในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรแสนคน จำแนกรายจังหวัด เขตสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ: 2566 ม.ค. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=38522&deptcode=dip

Ismail RA, El Sibai RH, Dakessian AV, Bachir RH, El Sayed MJ. Fall related injuries in elderly patients in a tertiary care centre in Beirut, Lebanon. J Emerg Trauma Shock. 2020 Apr-Jun;13(2):142-145. doi: 10.4103/JETS.JETS_84_19.

ปาริชาต ญาตินิยม, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์. การสำรวจความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2564. รายงานการประเมินผลโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2565. ชัยภูมิ; คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ; 2564.

Vu HM, Nguyen LH, Nguyen HLT, Vu GT, Nguyen CT, Hoang TN, Tran TH, Pham KTH, A Latkin C, Xuan Tran B, S H Ho C, Ho RCM. Individual and Environmental Factors Associated with Recurrent Falls in Elderly Patients Hospitalized after Falls. Int J Environ Res Public Health. 2020 Apr 3;17(7):2441. doi: 10.3390/ijerph17072441.

Teixeira DK, Andrade LM, Santos JLP, Caires ES. Falls among the elderly: Environmental limitations and functional losses. Rev Bras Geriatr Gerontol. 2019; 22(3):1-10. doi: 10.1590/1981-22562019022.180229

อภิฤดี พาผล, อุไร ขลุ่ยนาค. เครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2564;15(1):11-20.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. คู่มือการตรวจประเมินสุขภาวะและสมรรถนะของผู้สูงอายุ. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9; 2565.

Podsiadlo D, Richardson S. The timed "Up & Go": a test of basic functional mobility for frail elderly persons. J Am Geriatr Soc. 1991 Feb;39(2):142-8. doi: 10.1111/j.1532-5415.1991.tb01616.x.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ป้องกันได้ด้วยการประเมินและจัดการความเสี่ยง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580). กรุงเทพฯ: กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2565.

องค์อร ประจันเขตต์. กะลายางยืด: นวัตกรรมสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2567;15(2):33-8.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ชีวิตวิถีใหม่ วิถีชีวิตสุขภาวะ ยืดเหยียดยางเสริมสร้างกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-09