รูปแบบการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ศิลา จิรวิกรานต์กุล -

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพยากรณ์, ความรุนแรง, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

บทนำ: การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยจิตเวช จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ เตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาแนวทางการให้บริการ และการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมให้กับสถานบริการ  

วิธีการ: ใช้จำนวนผู้ป่วยจิตเวชจากระบบรายงาน  HDC ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ตามอนุกรมเวลา ปีงบประมาณ 2556-2565  รวมทั้งสิ้น 120 ค่า ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 รวม 108 ค่าสำหรับศึกษาวิธีการพยากรณ์ทั้งหมด 6 วิธี  โดยใช้โปรแกรม Excel และข้อมูล ชุดที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 12 ค่า นำมาใช้สำหรับเปรียบเทียบความแม่นยำของค่าพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดสัมบูรณ์ (MAD)  และค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาด (MAPE) ที่ต่ำที่สุด

ผล: การศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมกับการพยากรณ์แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยในอนาคต คือ รูปแบบวิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลของโฮลท์ (MAPE=11.07) รองลงมาคือ วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นตรง (MAPE=16.69) และวิธี Winter’s three-parameter trend & seasonality method (Winters) (MAPE=19.53)  

วิจารณ์: การพยากรณ์ทั้ง  6 วิธี พบว่า วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลของโฮลท์ เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ เนื่องจากมีความแม่นยำในการพยากรณ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ยร้อยละผิดพลาดที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 11.07 

สรุป: วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลของโฮลท์ เป็นรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสม โดยผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลง จากค่าพยากรณ์พบว่า ผู้ป่วยจะมีค่าเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายนขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม

References

กรมสุขภาพจิต. การดูแลผู้ป่วยจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข) [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh-elibrary.org/items/show/535

กรมสุขภาพจิต. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ม.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://mhso.dmh.go.th/fileupload/202010061612167390.pdf

กลุ่มรายงานมาตรฐาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2566.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช. รายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2557.นครศรีธรรมราช: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช; 2557.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์; 2545.

อังคณา จัตตามาศ, พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. การพยากรณ์สถานการณ์การพบผู้ป่วยทางด้านจิตเวชในผู้สูงอายุเขตพื้นที่เฝ้าระวังผู้ป่วยของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์. 2558;4(2):92-100.

เบ็ญจมาศ พฤฒารา, วิภาพร สิทธิจันทร์. รูปแบบการพยากรณ์สถานการณ์ของผู้ป่วยจิตเวชของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. วารสารสุขภาพจิตแห่งประไทย. 2563;28(4):337-47.

อัจฉรา จันทร์ฉาย. เทคนิคการพยากรณ์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2527.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ การวิเคราะห์อนุกรมเวลา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

เจริญธรรม เหลืองประดิษฐ์. การพยากรณ์แนวโน้มยอดขายของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2550.

ดาว สงวนรังศิริกุล, หรรษา เชี่ยวอนันตวานิช, มณีรัตน์ แสงเกษม. การศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2558;38(1):35-55.

ศิริวรรณ สัมพันธมิตร, วรรณดา สมบูรณ์, กนกวรรณ สังสรรค์ศิริ, เสาวนิตย์ เลขวัต. การพยากรณ์ความต้องการใช้กาวดักแมลงวัน. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. 2564;7(1):55-67.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. การพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2563;28(1):1-12.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกก๊าซธรรมชาติผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ของประเทศไทย. 2561; 26(8):1273-84.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส;2563.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติด (ฉบับทดลองใช้). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-15