ความตระหนัก พฤติกรรมความปลอดภัย และภาวะสุขภาพ ของพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐนิชา พรหมเจริญ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • หัสฉฎา อินทร์ดำ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • โสมศิริ เดชารัตน์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง https://orcid.org/0000-0001-7621-2008

คำสำคัญ:

ความตระหนัก, พฤติกรรมความปลอดภัย, ภาวะสุขภาพ, พนักงานทำความสะอาด

บทคัดย่อ

พนักงานทำความสะอาดเป็นอาชีพที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในสถานที่ต่างๆ และมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความตระหนักและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย 2) เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความปลอดภัยและความตระหนักด้านความปลอดภัยในพนักงานทำความสะอาดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ในกลุ่มพนักงานทำความสะอาดด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 83 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ระยะเวลาทำการวิจัย 4 มกราคม พ.ศ. 2565-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา t-test และสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานทำความสะอาดเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100 พบว่า โดยภาพรวมความตระหนักด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.23 (SD=0.21) และภาพรวมด้านพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.18 (SD=0.15) และพบว่า ระดับการศึกษา ชั่วโมงการทำงาน จำนวนวันทำงาน การใช้ถุงมือหน้ากาก/ผ้าปิดจมูก และพฤติกรรมการล้างมือ มีความสัมพันธ์กับความตระหนักและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ผลการวิเคราะห์แบบจำลองการถดถอยพหุคูณพบว่า พฤติกรรมความปลอดภัยและความตระหนักด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=582.441, p<0.001) นอกจากนี้ พนักงานทำความสะอาดที่มีความตระหนักด้านความปลอดภัยสูงจะเพิ่มระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในเชิงบวกอีกด้วย (β=0.892, p<0.001) ดังนั้น การเฝ้าระวังปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น โปรแกรมการจัดการอาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงาน เป็นต้น จะสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานทำความสะอาดได้

Author Biographies

ณัฐนิชา พรหมเจริญ, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

บัณฑิตสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หัสฉฎา อินทร์ดำ, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

บัณฑิตสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

โสมศิริ เดชารัตน์, สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

รองศาสตราจารย์

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. เบิกฤกษ์.มกราคม 2567 ต่างชาติลงทุนในไทย. [เข้าถึงเมื่อ 2567 พ.ค. 23]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dbd.go.th/news/27160267

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). [เข้าถึงเมื่อ 2567 พ.ค. 23]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index

Jeebhay MF, Quirce S. Occupational asthma in the developing and industrialised world: a review. Int J Tuberc Lung Dis. 2007 Feb;11(2):122-33.

International Standard Classification of Occupations (ISCO-08) [Internet]. 2012. [cited 2023 October 12]. Available from: https://www.ilo.org/public/english/bureau/stat/isco/docs/publication08.pdf

Siracusa A, De Blay F, Folletti I, Moscato G, Olivieri M, Quirce S, Raulf-Heimsoth M, Sastre J, Tarlo SM, Walusiak-Skorupa J, Zock JP. Asthma and exposure to cleaning products - a European Academy of Allergy and Clinical Immunology task force consensus statement. Allergy. 2013 Dec;68(12):1532-45. doi: 10.1111/all.12279.

Casas L, Nemery B. Irritants and asthma. Eur Respir J. 2014; 44:562–4. doi: 10.1183/09031936.00090014

ฉัตร์ยุภา จิโนรส, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วันเพ็ญ ทรงคำ. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร. 2559;43(1):57-69.

Likert R. The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son; 1967.

Bloom BS, Hastings T, Madaus GF. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.

วิริยะภูมิ จันทร์สุภาเสน. ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2560;18(1):113-22.

Vizcaya D, Mirabelli MC, Antó JM, Orriols R, Burgos F, Arjona L, Zock JP. A workforce-based study of occupational exposures and asthma symptoms in cleaning workers. Occup Environ Med. 2011 Dec;68(12):914-9. doi: 10.1136/oem.2010.063271.

Brooks C, Slater T, Corbin M, McLean D, Firestone RT, Zock JP, Pearce N, Douwes J. Respiratory health in professional cleaners: Symptoms, lung function, and risk factors. Clin Exp Allergy. 2020 May;50(5):567-576. doi: 10.1111/cea.13597.

Whitworth KW, Berumen-Flucker B, Delclos GL, Fragoso S, Mata C, Gimeno Ruiz de Porras D. Job hazards and respiratory symptoms in Hispanic female domestic cleaners. Arch Environ Occup Health. 2020;75(2):70-74. doi: 10.1080/19338244.2019.1606774.

Lee SJ, Nam B, Harrison R, Hong O. Acute symptoms associated with chemical exposures and safe work practices among hospital and campus cleaning workers: a pilot study. Am J Ind Med. 2014 Nov;57(11):1216-26. doi: 10.1002/ajim.22376. Epub 2014 Sep 15. Erratum in: Am J Ind Med. 2015 Aug;58(8):914. doi: 10.1002/ajim.22474.

Svanes Ø, Skorge TD, Johannessen A, Bertelsen RJ, Bråtveit M, Forsberg B, Gislason T, Holm M, Janson C, Jögi R, Macsali F, Norbäck D, Omenaas ER, Real FG, Schlünssen V, Sigsgaard T, Wieslander G, Zock JP, Aasen T, Dratva J, Svanes C. Respiratory Health in Cleaners in Northern Europe: Is Susceptibility Established in Early Life? PLoS One. 2015 Jul 13;10(7):e0131959. doi: 10.1371/journal.pone.0131959.

ศิวกร สันตินิภานนท์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-08