ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ เขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธัพญสรณ์ กองแก้ว ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ปัจจัยชีวสังคม, การรับรู้ความสามารตนเอง, ความคาดหวังในผลลัพธ์, แรงสนับสนุนทางสังคม, กิจกรรมทางกาย, ภาวะสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 436 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแควร์ (Chi-square) และทดสอบด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียรสัน (Pearson’s product moment correlation coefficients)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 38.30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม โดยพิจารณารายด้าน ดังนี้ ปัจจัยชีวสังคม ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม ด้านความคาดหวังในผลดีของการทำกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาครั้งนี้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเอง ผ่านการปฏิบัติด้วยตนเอง รวมไปถึงการใช้ต้นแบบผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายดีต่อเนื่องเพื่อเป็นแรงผลักดันในการทำกิจกรรมทางกาย จัดกรอบเวลาในการกำกับติดตาม และให้คำแนะนำกับผู้สูงอายุ และจัดให้มีสถานที่ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างต่อเนื่อง

Author Biographies

ธัพญสรณ์ กองแก้ว, ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา)

ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์; 2566.

เทศบาลนครปากเกร็ด. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: เทศบาลนครปากเกร็ด; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pakkretcity.go.th/index.php/2017-07-24-13-55-02

ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เรื่อง มาตรการป้องกันโรคสมองเสื่อม. นนทบุรี: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2557.

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้สูงวัย (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป). กรุงเทพฯ: เอ็นซี คอนเซ็ปต์; 2560.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับจังหวัด. นนทบุรี.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2556.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา; 2556.

นัฐพล ปันสกุล, ศุภกาญจน์ แก่นท้าว. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่งบุคคลกับระดับกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดแพร่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563:40(2):66-82

วารุณี เซี่ยงฉิน, ศิริรัตน์ จำปีเรือง, วงศ์สิริ แจ่มฟ้า. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 2566;7(3):165-81.

ธีรนุช ชละเอม, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2560;10(2):19-32

จุฬาวรรณ จิตดอน, ศศิธร ชาวไร่, จิราพัชร ตั้งพิทักษ์กุล, อาภาภัทร เครือเม่น, อรปรียา ฐิติพันธ์รังสกฤต, สุวนันท์ กันแม้น, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ชุลมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2563;24(1):119-28.

สุพรรณี วงศ์แก้ว, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, ภารดี นานาศิลป์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมระยะที่สาม. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2566;50(1):216-29.

พรนิภา วิชัย, ธาวินี ตั้งตรง, อรพิณ พลชา, ณรงค์ ใจเที่ยง, สุทธิชัย ศิรินวล, สมชาย จาดศรี, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;10(2):26-35.

ธันยานุช คำสีแก้ว, ธนัส กนกเทศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 2566;4(4):121-35.

ธนิดา วุลวนิชย์, ดำรัส ดาราศักดิ์, วิชัย จุลวนิชย์พงษ์, ไพฑูรย์ กันสิงห์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารตนเอง แรงจูงใจในการออกกำลังกาย และปัจจัยชีวสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):240-49

นงศ์ณพัชร์ มณีอินทร์, อิทธิพล ดวงจินดา. การรับรู้ความสามารในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(2):1-18

วิษณุ มากบุญ. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565;2(1):17-28

Resnick B, Zimmerman SI, Orwig D, Furstenberg AL, Magaziner J. Outcome expectations for exercise scale: utility and psychometrics. J Gerontol B Psychol Sci Soc Sci. 2000 Nov;55(6):S352-6. doi: 10.1093/geronb/55.6.s352.

ธาริน สุขอนันต์, จารุณี ทรัพย์ประเสริฐ, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, อาภิสรา วงศ์สละ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2557;9(2):66-75

อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี, ภูริทัต แสงทองพานิชกุล. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2563;64(2):85-96

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-12