อิทธิพลของการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมลักษณ์ กองศูนย์พนิช กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น
  • ศิริชัย จันพุ่ม สำนักงานสภาสถาบัน สถาบันพระบรมราชชนก https://orcid.org/0000-0001-5723-5933

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ปัจจัย, การป้องกันและควบคุม, โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาอิทธิพลของการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ จังหวัดขอนแก่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 106 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป จำนวน 6 ข้อ 2) แบบสอบถามการมีส่วนร่วม จำนวน 22 ข้อ เป็นแบบมาตรวัด 5 ระดับ และ 3) แบบสอบถามการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามการมีส่วนร่วม
และแบบสอบถามการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม.ได้ค่า CVI=0.81 และ 0.83 ตามลำดับ หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.85 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล สามารถอธิบายการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม.ได้ ร้อยละ 56.50 (R=0.75, R2=0.56) และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการสามารถอธิบาย
การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. ได้ร้อยละ 62.40 (R=0.79, R2=0.62) ตัวแปรอิสระทั้งสองสามารถพยากรณ์การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ร้อยละ 62.40 ควรส่งเสริมให้ อสม. มีส่วนร่วมในการประเมินและการปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

Guzman MG, Harris E. Dengue. Lancet. 2015 Jan 31;385(9966):453-65. doi: 10.1016/S0140-6736(14)60572-9.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการจัดการโรคติดต่อนำโดยแมลง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2575) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การจัดการโรคติดต่อนำโดยแมลง พ.ศ. 2566-2575. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566

วิภาวดี วุฒิเดช. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดการ โรคติดต่อนำโดยแมลง พ.ศ. 2566-2575. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

วาสนา ชำนาญเวช. การประเมินผลการ ปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ในโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลวงเหนือ อำาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ; 2556

Cohen JM, Uphoff NT. Participation’ s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development. 1980; 8(3): 213-35. doi: 10.1016/0305-750X(80)90011-X

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;3(2):19-30.

ปราโมทย์ เกรียงตันติวงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2550. วารสารวิจัยและระบบสารณสุข. 2551;2(1):738-746.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). ยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังน้ำลด [ออนไลน์]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=250882

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

นวลใจ เปี่ยมศิริ. ปัจจัยที่ส่งผลพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองดินแดง [ออนไลน์]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ส.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://nptho.moph.go.th/web/web/index.php?r=sited%2Fdefault%2Fdownloada&id=2

อำนาจ ราชบัณฑิต, วิทัศน์ โพธิ์ศรี. การมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้านอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2557;8(3):18-24.

ภคอร โจทย์กิ่ง, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนสามเหลี่ยม เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560;24(2):29-37.

ปรีชา สุวรรณทอง, วนิชา อิทรสร, วาริศา บุญเกิด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ.2566; 16(3):169-82.

ศิริชัย จันพุ่ม, ชัญญา อภิปาลกุล, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, สุทิน ชนะบุญ. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 2559;9(4):104-18.

ภานุพงษ์ มาประเสริฐ, สุชาต อดุลย์บุตร, บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี 2566, 6(5):267-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-08