การศึกษารูปแบบการจัดการมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง และผลกระทบต่อสุขภาพ จากการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตาม พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กรณีศึกษา กิจการแป้งมันสำปะหลัง และ กิจการบด ย่อย ผสมซีเมนต์
คำสำคัญ:
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง TSP, PM10 2) การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัส 3) จัดทำข้อเสนอแนวทางและรูปแบบการจัดการมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยการสำรวจและตรวจวัดฝุ่นละออง TSP และ PM10 ในบรรยากาศทั่วไปโดยรอบและภายในของสถานประกอบกิจการแป้งมันสำปะหลัง และกิจการการบด ย่อย ผสมซีเมนต์ จำนวน 20 แห่ง จังหวัดนครราชสีมา ชลบุรี และระยอง
ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศ TSP, PM10 มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทย จากการทดสอบทางสถิติด้วย t-test และ One-way ANOVA พบว่าปริมาณฝุ่นละอองบริเวณริมรั้ว แตกต่างจากปริมาณฝุ่นละอองบริเวณเหนือลมและท้ายลมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) พื้นที่ปฏิบัติงาน พบว่าปริมาณฝุ่นละอองที่สามารถหายใจเข้าไปได้ และฝุ่นละอองที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ มีแนวโน้มสูงกว่าภายนอก แต่ไม่เกินมาตรฐานที่แนะนำโดย OSHA ด้านปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน 170 คน และประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ 619 คน พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดงที่เกี่ยวกับการได้รับสัมผัสฝุ่นละอองหรือมีบ้างแต่อาการไม่รุนแรง ด้านผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ พบว่าสัดส่วนความเป็นอันตราย (HQ) จากฝุ่น PM10 มีค่าไม่เกิน 1 แสดงว่ามีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ด้านกำหนดรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสม ประกอบด้วย 1) เกณฑ์แนะนำการควบคุมฝุ่นละออง ณ แหล่งกำเนิด 2) การเฝ้าระวังและการติดตามตรวจสอบ 3) การควบคุมกำกับการประกอบกิจการและการจัดการเหตุรำคาญ และ 4) การส่งเสริมในการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สถิติการร้องเรียนปัญหามลพิษ ปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 มี.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/stat/สถิติการร้องเรียนปัญหามลพิษปี-2564
United States Environmental Protection Agency [US EPA]. Exposure Factors Handbook: 2011 edition. Washington DC: Office of Research and Development; 2011.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับสาธารณสุขอำเภอ จัดการเหตุรำคาญและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2556.
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน ที่ 104 ง พ.ศ. 2547.
กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล. ทำไมหนูสูงไม่ถึง 180. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิช; 2559.
สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์. การเจริญเติบโตตามวัยน้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ.[อินเตอร์เน็ต] 2563. [สืบค้นเมื่อ 2565 ส.ค. 15]. เข้าถึงได้จาก https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/การเจริญเติบโตตามวัย
Malone G, Van Wicklen G, Collier S, Hansen D. Efficacy of Vegetative Environmental Buffers to Capture Emissions from Tunnel Ventilated Poultry Houses. Proceedings of the Workshop on Agricultural Air Quality. Washington DC; 2006. pp. 875-78.
Cong XC, Yang SL, Cao SQ, Chen ZL, Dai MX, Peng ST. Effect of aggregate stockpile configuration and layout on dust emissions in an open yard. Applied Mathematical Modelling. 2012;36(11):5482-91.
Charinpanitkul T, Tanthapanichakoon W. Deterministic model of open-space dust removal system using water spray nozzle: Effects of polydispersity of water droplet and dust particle. Separation and Purification Technology. 2011;77(3):382-88.
พงษ์พัฒน์ สุขเกษม. การจัดการคุณภาพอากาศของโรงงานโดยใช้แบบจำลองคุณภาพ อากาศร่วมกับแนวทางเทคโนโลยีสะอาด. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2558.
สุดจิต ครุจิต, นเรศ เชื้อสุวรรณ, นิรันดร์ คงฤทธิ์, ธนัญชัย วรรณสุข. แนวทางการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก ตามแนวคิดอุตสาหกรรมสีเขียว. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ณัฐพล บุญมี. การประเมินความเสี่ยงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครมิเตอร์ กรณีศึกษาบริเวณพื้นที่โรงโม่หิน จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพลังงานสิ่งแวดล้อม]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) [สสปท.] [อินเตอร์เน็ต] 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มี.ค. 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/796-asbestos#:~:text=3.%20
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9