การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชลธิรา ศรีสวัสดิ์, พ.บ. โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, การดูแลล่วงหน้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผล เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และผลการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care)  อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) คือการประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 38 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 12 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปผู้ดูแล, 2) แบบบันทึกการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วย, 3) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 4) บันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิเคราะห์ศึกษาสถานการณ์ และปัญหาการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง พบว่า กลุ่มผู้ป่วยระยะท้าย ส่วนใหญ่ป่วยเป็น Advanced cancers ร้อยละ 73.68 อาศัยอยู่กับคู่สมรสและบุตรหลาน ร้อยละ 71.05 เสียชีวิตที่บ้าน ร้อยละ 86.84 เสียชีวิตที่โรงพยาบาล ร้อยละ 13.16 ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายคือ ญาติขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ควรพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ดังนี้ 1) การฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่ญาติผู้ป่วย, 2) การสนับสนุนอุปกรณ์ในการดูแลต่อเนื่อง, 3) พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยในโปรแกรม Smart COC เชื่อมการส่งข้อมูลทุกระดับ, 4) จัดตั้งทีม Rapid consulting services และ 5) พัฒนาระบบการส่งยา Palliative care การประเมินผล พบว่า อัตราการประชุมครอบครัวและการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ร้อยละ 86.84 ผู้ป่วยมีอาการปวดได้ Strong opioid ร้อยละ 73.68  ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 92.11 ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ร้อยละ 92.11 และผู้ดูแลมีความพึงพอใจการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในระดับมากที่สุด

References

Asawateerakun N, Wongkham P, Puangpho T. Palliative Care. Nonthaburi: Nationnal Health Commission Office 2013.

Soowit B, Panasakulkan S, Muksiritipanun B. The Assessment of the Suffering Symptoms in Palliative Care Patients. Songklanagarind Journal of Nursing 2015;35(1):153-64.

Prakongruk Palliative Care Center. Quality Standards for Palliative Care. Bangkok: Rajavithi Hospital; 2021.

Dejprapasorn S. Study of Medical Care Provided for End–of–Life Patients at Ban Muang Hospital, Sakon Nakhon. Journal of Sakon Nakhon Hospital 2018;21(3):54-63.

Boonyoung S, Wisai K. Palliative Outcome Score, Stress and Depression of the Caregivers after Implemented Home-Based Palliative Care Guideline among Terminally Ill Patients of Primary Care Network, Phrao District, Chiang Mai Province. Lanna Public Health Journal 2020;16(2):103-17.

Onanong W, Matchim Y. End-of-Life-Care Program for Enhancing Good Death Among Cancer Patients: A literature review. Songklanagarind Journal of Nursing 2519;39(1):158-69.

Anseekaew P, Matchim Y, Ratanabunjerdkul H. The Effects of an End-of-life Care Program on The Palliative Care Outcomes and Perceived Peaceful End of Life Among End-stage Cancer Patients. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2020;21(2):315-23.

Khunpinit K, Chaiviboontham S, Pokpalagon P. Association between the quality of palliative care and grief of bereaved families. Journal of Health Science Research 2020;14(3):24-35.

Prakongruk Palliative Care Center. Guidelines for Palliative and End of Life Care. Bangkok: Rajavithi Hospital; 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-03