การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในตึกอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การติดเชื้อดื้อยา, การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อบทคัดย่อ
การวิจัยแบบ Intervention research รูปแบบวิจัย Historical controlled design วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติเดิมในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ศึกษากับผู้ป่วยทุกโรค เก็บข้อมูลย้อนหลังเดือน กรกฎาคม 2566 ในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติเดิม เก็บข้อมูลไปข้างหน้า เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2566 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติแบบใหม่ รวบรวมข้อมูลทั่วไปทางคลินิก เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ผลลัพธ์หลักคือการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลเปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่ม ด้วย Multivariable risk difference regression และ Multivariable mean difference regression
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 195 ราย อายุเฉลี่ย 58.0 (±16.6) ปี อายุอยู่ระหว่าง 18 ถึง 93 ปี หลังปรับอิทธิพลตัวแปร ได้แก่ อายุ BMI การวินิจฉัยโรค โรคประจำตัวประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ยาฆ่าเชื้อที่ใช้จากการวินิจฉัยโรค การติดเชื้อดื้อยาจากชุมชน พบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลได้ร้อยละ 17 (95%CI: 0.26, -0.08) (p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถลดการติดเชื้อเชื้อดื้อยาระบบทางเดินหายใจลงได้รอยละ 10 (95%CI: -0.17, -0.03) (p=0.005) การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะลดลงร้อยละ 4 (95%CI:-0.09, -0.00) (p=0.038) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การติดเชื้อระบบไหลเวียนเลือดมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 4 (95%CI:- -0.11, 0.01) (p=0.087) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้ระยะเวลาการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงเฉลี่ย 2 วัน (95%CI:-5.09, 0.57) (p=0.097) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัยได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลได้ สามารถนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ได้
References
Abushaheen MA, Muzaheed, Fatani AJ, Alosaimi M, Mansy W, George M, et al. Antimicrobial resistance, mechanisms and its clinical significance. Dis Mon. 2020 Jun;66(6):100971. doi: 10.1016/j.disamonth.2020.100971.
World Health Organization. Antimicrobial resistance: Global report on surveillance 2014 [Internet]. 2014 [cited: 2014 Sep 5]; 22:10-13. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/112647/WHO_HSE_PED_AIP_2014.2_eng.pdf
นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, ศิริตรี สุทธจิตต์, สิตานันท์ พูลผลทรัพย์, รุ่งทิพย์ ชวนชื่น, ภูษิต ประคองสาย. ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ :อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2558.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตลาดยาปฏิชีวนะในประเทศไทย. ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. 2552;3:3-5.
Mao T, Zhai H, Duan G, Yang H. Patterns of Drug-Resistant Bacteria in a General Hospital, China, 2011-2016. Pol J Microbiol. 2019;68(2):225-232. doi: 10.33073/pjm-2019-024.
สมฤดี ชัชเวช, รุ่งฤดี เวชวนิชสนอง, กุสุมา บูญรักษ์, ไพจิตร มามาตย์, ไพรัช พิมล, สุพรรษา บุญศรี. ผลของการนำใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560;31(4):697-708.
วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ. การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการ แพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560;31(3):411-56.
ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, นงเยาว์ เกษตรภิบาล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาลแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร. 2558;42(3):119-34.
นาตยา ปริกัมศีล, ศุภา เพ็งเลา, สมใจ สายสม. ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษต่อความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษของบุคลากรสุขภาพ ผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลโพธาราม. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561;3(2):49-57.
พงศ์ลดา รักษาขันธ์, ณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์, กมลวัลย์ พรหมอุดม, บุญมี มีประเสริฐ .การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2566; 6(1):32-45.
กุลดา พฤติวรรธน์, รัชนีย์ วงค์แสน ,สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์, สมรรถเนตร ตะริโย. การเพิ่มประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการติดเชื้อดื้อยา แผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกองการพยาบาล. 2560;4:9-33.
ปัทมา ชัยชุมภู.ประสิทธิผลของกระบวนการพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลแม่สาย. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา.2564; 1: 47–62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9