ประสิทธิผลการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ภาวะแทรกซ้อน, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, โปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยแบบ Intervention research แบบ Non-concurrent self-control with interrupted time design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยก่อนเข้าโปรแกรมเดือนตุลาคม 2566 และหลังเข้าโปรแกรมเดือน ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดผลลัพธ์หลัก ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนหลังเข้าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าโปรแกรมด้วย Multivariable Gaussian regression with cluster robust variance correction นำเสนอ Risk difference
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ศึกษาเป็นเพศชาย 23 ราย (62.16%) เพศหญิง 14 ราย (37.84%) อายุเฉลี่ย 63.27 (±12.18) ปี อายุอยู่ระหว่าง 32 ถึง 79 ปี หลังปรับอิทธิพลตัวแปร ได้แก่ อายุ BMI เพศ น้ำหนักก่อนเข้าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน ส่วนสูง ระยะเวลาของการได้รับการฟอกเลือด โรคประจำตัว การใช้ยาความดันโลหิตสูง ประวัติการรับประทานยาความดันโลหิตสูง ประวัติภาวะแทรกซ้อน ปริมาณน้ำที่ควรดึงได้ตามเป้าหมายพบว่า หลังการใช้โปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ 28 % (95%CI: -0.45, -0.12) (p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะความดันโลหิตต่ำ และการมีภาวะน้ำหนักเพิ่มก่อนการเข้าฟอกเลือดลดลงจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปการวิจัยได้ว่าโปรแกรมเพื่อเตรียมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และควรนำโปรแกรมนี้ไปปรับใช้ใน CKD Clinic เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเข้าฟอกเลือด
References
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาโรคไตในประเทศไทย: ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เม.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf
อำนาจ ชัยประเสริฐ. Chronic kidney disease. ใน บัญชา สถิระพจน์, อำนาจ ชัยประเสริฐ, เนาวนิตย์ นาทา, อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ (บ.ก.), Manual of Dialysis. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2561.
ธีรศักดิ์ ตั้งวงษ์เลิศ. Hemodialysis Apparatus. ใน บัญชา สถิระพจน์ (บก.), Pocket Dialysis (หน้า 62-67). กรุงเทพฯ: โครงการตำราวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า; 2565.
สร้อยสะอาง สร้างสมวงษ์. Nursing Issue in Acute Hemodialysis Complications. ใน พงศธร คชเสนี, ขจร ตีรณธนากุล, ทวี ชาญชัยรุจิรา, ธนันดา ตระการวนิช, ทวีพงษ์ ปาจรีย์, เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ (บก.), Essentials in Hemodialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นอล พับลิเคชัน; 2559.
ฐิติกา พุทธิผล, มยุรี ลี่ทองอิน. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำเกินของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ โรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.ใน; การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20; 15 มี.ค.2562; ม.ขอนแก่น; 2562: 943-52.
โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. รายงานผลการดำเนินงานหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ปี 2564-2566. หนองบัวลำภู: โรงพยาบาลหนองบัวลำภู; 2566.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2565: 129-137.
สุภาพร ไชยวัฒนตระกูล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2561;1(2):131-46.
ธิดารัตน์ เพชรชัย, ศรีสุดา มิ่งแก้ว, เยาว์ลักษณ์ นนทภา, วไลพร คำทอง, พรทิพา โฮมราช, อัญชลี ปิยลังกา และคณะ. ผลของการใช้แนวคิดการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. วารสารแพทย์นาวี. 2561;45(1):106-20.
วรรวิษา สำราญเนตร, นิตยา กออิสรานุภาพ, เพชรลดา จันทร์ศรี. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยและพัฒนา ด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2563;6(2):5-20.
พิกุล เรืองนาม. ผลการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เม.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2564/research/MA2564-002-01-0000000576-0000000519.pdf
ทิตยา ธรรมพิรานนท์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เม.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hospital.tu.ac.th/ndtuh/upload/addsome/files/2022032410155972.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9