การพัฒนาระบบบริหารแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ระบบบริหาร, แผนปฏิบัติการสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลระบบบริหารแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการเดือนมิถุนายน 2566-พฤษภาคม 2567 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาจากปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านเครื่องมือ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารจัดการ, 2) พัฒนาและดำเนินการตามระบบ และ 3) ประเมินผล และปัจจัยแห่งความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัดและอำเภอ รวม 103 คน ใช้แบบสอบถามเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากระบบแผนงานโครงการระดับอำเภอออนไลน์ (E-Plan) และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า ระบบบริหารแผนปฏิบัติการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ (BRO-Action Plan Management System) ประกอบด้วย 1) การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน โดยการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขลงสู่การปฏิบัติ, 2) การจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยใช้ระบบ E-Plan, 3) การกำหนดและมอบหมายผู้รับผิดชอบโดยมีผู้จัดการแผนทุกระดับ, 4) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ และ 5) การติดตามและประเมินผล ผลลัพธ์คือ มีแผนจำนวน 3,106 แผน ร้อยละ 41.50 เป็นแผนงานเชิงกลยุทธ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ร้อยละ 44.95 แหล่งงบประมาณแผนจากเงินบำรุง ลดความผิดพลาดในการจัดทำแผน ลดการสูญหายของแผนได้ร้อยละ 100 ภาพรวมความพึงพอใจของผู้จัดการแผนต่อระบบอยู่ในระดับมาก พึงพอใจมากที่สุดด้านรูปแบบ สามารถติดตามสถานะของแผนได้ (ร้อยละ100) ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ ผู้บริหารให้การสนับสนุน การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหาร ผู้จัดการแผนช่วยเป็นพี่เลี้ยงสร้างความเข้าใจในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ดังนั้น ระบบบริหารแผนปฏิบัติการลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน สนับสนุนให้เกิดการทำงานบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพที่วางไว้
References
ชิงชัย อัฐนาค. รูปแบบการพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2565;7(3):142-50.
อมรรัตน์ อมรนาถ.กระบวนการวางแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา.[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; 2559.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารประกอบการสรุปแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2567. (เอกสารอัดสำเนา)
White R, Green T. Improving Public Health Services Through Effective Management. Health Service Research. 2021;17(4):211-20.
Carey G, Malbon E, Carey N, Joyce A, Crammond B, Carey A. Systems science and systems thinking for public health: a systematic review of the field. BMJ Open. 2015 Dec 30;5(12):e009002. doi: 10.1136/bmjopen-2015-009002.
Williams F, Oke A, Zachary I. Public health delivery in the information age: the role of informatics and technology. Perspect Public Health. 2019 Sep;139(5):236-254. doi: 10.1177/1757913918802308.
Frieden TR. Six components necessary for effective public health program implementation. Am J Public Health. 2014 Jan;104(1):17-22. doi: 10.2105/AJPH.2013.301608.
การศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้.การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร 4 ด้าน (SWOT) [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤษภาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.iok2u.com/index.php?option=com_content&view=article&id=438&catid=13
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤษภาคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ftpi.or.th/2015/2125
Management Action Plan workbook. Steps in Completing a Management Action Plan [อินเตอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤษภาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sac-isc.gc.ca/eng/1386725719834/1618139237651
จตุรงค์ ปานใหม่. การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราขสีมา. 2564;7(1):222-36.
สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2563;14(33):52-70.
Besharati R, Raeissi P, Nasiripour AA, Tabibi J, Maleki MR. The effect of organizing and direction of operations on operational planning of hospitals. Nursing and Midwifery Journal. 2016;14 (2):159-69.
Besharati R. Designing an operational planning model for hospitals affiliated to the ministry of health and medical education of Iran. Journal of Urmia Nursing and Midwifery Faculty. 2019;17(1):154-67.
Shahidi S, Avizhgan M, Shojaei B. Designing, implementing, and evaluating the process of action plan management at Isfahan Medical School. J Educ Health Promot. 2023 May 31;12:161. doi: 10.4103/jehp.jehp_276_22.
อภิวัฒน์ พานทอง.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจ าปีงบประมาณพ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2565;12(3):33-40.
พิริยา ผาติวิกรัยวงค์, วรางคณา จันทร์คง, สมโภช รติโอฬาร. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(3):110-20.
อุษคม เจียรจินดา. เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 2563;3(2):59-70.
ปัทนีญา รอดแก้, มณฑล สรไกรกิติกูล. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 2559;13(2):61-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9