ผลของการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ที่มีต่ออาการปวด ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหว และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอในผู้ที่มีภาวะออฟฟิศซินโดรม

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ เกียรติเจริญศิริ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ญดา ธาดาณัฐภักดิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การออกกำลังกาย, การประคบสมุนไพร, การให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย, ภาวะออฟฟิศซินโดรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายที่มีต่ออาการปวด ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหว และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ ก่อนและหลังการศึกษา และ 2) เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลที่มีภาวะออฟฟิศซินโดรมจำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 27 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้รับการประคบสมุนไพรและการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดค่าอาการปวด ระดับความรู้สึกกดเจ็บ องศาการเคลื่อนไหว และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Analysis of Covariance (ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่าอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการฝึก (p<0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ค่าอาการปวดลดลงแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.083) ระดับความรู้สึกกดเจ็บและองศาการเคลื่อนไหวในทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการฝึกพบว่า ค่าอาการปวด องศาการเคลื่อนไหวคอหลายทิศทาง และดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายร่วมกับการประคบสมุนไพร และการให้ความรู้พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย มีประสิทธิผลในการลดอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของคอในผู้ที่มีภาวะออฟฟิศซินโดรม

Author Biographies

ธนวัฒน์ เกียรติเจริญศิริ, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นักศึกษาปริญญาโท 

ญดา ธาดาณัฐภักดิ์, ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

วิไลลักษณ์ สุกใส, โสภิดา สุขสวัสดิ์, สถาพร สัตย์ซื่อ. ผลของการออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตนต่ออาการปวดต้นคอและองศาการเคลื่อนไหวคอของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2562;19(Suppl):S106-S115.

Park SH, Lee MM. Effects of Lower Trapezius Strengthening Exercises on Pain, Dysfunction, Posture Alignment, Muscle Thickness and Contraction Rate in Patients with Neck Pain; Randomized Controlled Trial. Med Sci Monit. 2020 Mar 23;26:e920208. doi: 10.12659/MSM.920208.

กนกอร ขาวสร้อย. ความหนาของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่างในผู้หญิงที่มีอาการปวดคอเรื้อรังข้างเดียว [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

ธวัช วีระศิริวัฒน์. กีฬาเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2538.

นฤมล ลีลายุวัฒน์. สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

อรวรรณ คล้ายสังข์, สุภาภรณ์ ศิลาเลิศเดชกุล. ผลของลูกประคบสมุนไพรสูตรปกติและลูกประคบสมุนไพรสูตรผสมข้าวไรซ์เบอรี่ ต่อระดับความเจ็บปวดและช่วงการเคลื่อนไหวคอ. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2563;6(1):55-72.

กนกวรรณ บ่ายเที่ยง. การเปรียบเทียบผลทันทีของการรักษาด้วยเทคนิคการกดจุดตามด้วยการยืด เหยียดกล้ามเนื้อและการรักษาด้วยเทคนิคการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามด้วยการกดจุดในผู้ที่มีอาการปวด กล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2563;29(1):38-47.

ศักดิชัย ถิรวิทยาคม. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการบำบัดรักษาภาวะข้อเข่าเสือมในผู้สูงอายุด้วยการประคบด้วยนวัตกรรมแผ่นประคบร้อน วิธีการฝังเข็ม และการออกกำลังกาย. วารสารกรมการแพทย์. 2562;44(1):83-9.

Sripoka J, Seaburin W. Effects of stick exercises and stretching on health-related physical fitness of the elderly Pak Chom subdistrict administrative organization, Pak Chom district, Loei province. Journal of Faculty of Physical Education. 2022;25(1):56-67.

Imtiyaz S, Veqar Z, Shareef MY. To Compare the Effect of Vibration Therapy and Massage in Prevention of Delayed Onset Muscle Soreness (DOMS). J Clin Diagn Res. 2014 Jan;8(1):133-6. doi: 10.7860/JCDR/2014/7294.3971.

วัลภา ไตรทิพย์. ประสิทธิผลของการรักษาด้วยการออกกำลังกล้ามเนื้อคอต่อดัชนีวัดความบกพร่องของคอ อาการปวดสะบักและองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนคอในผู้ป่วยปวดคอร้าวลงสะบัก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(2):437-47.

ดวงพร สุรินทร์ และ สยัมภู ใสทา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยการออกกำลังกายกลามเนื้อรอบข้อเข่าร่วมกับการประคบร้อนในผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อมเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารกายภาพบำบัด. 2566;45(2):97-111.

Martuscello JM, Nuzzo JL, Ashley CD, Campbell BI, Orriola JJ, Mayer JM. Systematic review of core muscle activity during physical fitness exercises. J Strength Cond Res. 2013 Jun;27(6):1684-98. doi: 10.1519/JSC.0b013e318291b8da.

ประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ, วรรธนะ ชลายนเดชะ, โสภา พิชัยยงค์วงศ์ดี. ผลของการประคบด้วยความเย็นต่ออาการปวดกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อกลุ่มงอศอกในเพศหญิง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 2553;5(1):99-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-09