การเรียนการสอนด้วยผู้ป่วยจำลองในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์: ความร่วมมือระหว่าง คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คำสำคัญ:
การเรียนการสอนในสถานการณ์จำลอง, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, ความร่วมมือระหว่างคณะบทคัดย่อ
ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของประเทศไทยและทั่วโลก มีความรุนแรง ต่อเนื่องหลายระลอกตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ต้องปรับวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะภาคปฏิบัติ ที่ไม่สามารถส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลได้ตามปกติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย นักศึกษา และอาจารย์ คณะฯ จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาอาจารย์พยาบาลเกี่ยวกับการเตรียมผู้ป่วยจำลอง (Standardized patients) เพื่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ” มีการอบรมอาจารย์ให้สามารถเขียนบทสำหรับการเตรียมผู้ป่วยจำลอง (สคริปต์) และนำสคริปต์ที่เขียนขึ้นมาพิจารณาร่วมกับอาจารย์จากคณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งจะนำสคริปต์ไปคัดเลือก และฝึกซ้อมนักแสดง นักแสดงเป็นคนปกติ แต่ได้รับการเตรียมให้มีความรู้ความเข้าใจ และสวมบทบาทการเป็นผู้ป่วยที่มีโรค หรือภาวะผิดปกติต่างๆ ตามที่กำหนดในสคริปต์ และนักศึกษาพยาบาลที่รับบทเป็นพยาบาล จะแสดงพฤติกรรมการพยาบาล ตอบสนองต่อปัญหา และความต้องการของผู้ป่วย ภายในห้องที่มีการจัดสถานที่ให้เหมือนหอผู้ป่วย หรือที่บ้าน มีการบันทึกภาพ และเสียง พร้อมส่งสัญญาณไปยังห้องสังเกตการณ์เพื่อให้นักศึกษาคนอื่นๆ ได้ร่วมเรียนรู้ ภายหลังจากการแสดงมีการสะท้อนคิด ระหว่างนักแสดง นักศึกษาผู้สวมบทบาทเป็นพยาบาล เพื่อนๆ นักศึกษาที่สังเกตการณ์ และคณะอาจารย์ ผลการประเมินจากนักศึกษาได้สะท้อนคิดว่า การเรียนการสอนด้วยผู้ป่วยจำลอง “ทำให้เข้าใจและรับมือสถานการณ์ได้ดี พยาบาลต้องมีองค์ความรู้ ไหวพริบ และวิธีการในการเจอผู้ป่วยและดูแลรักษาได้ทันท่วงที” “น่าสนใจ ได้เห็นข้อผิดพลาดต่างๆทำให้เกิดกระบวนการคิดต่อไป” บทเรียน และผลสำเร็จของโครงการนี้ ทำให้คณะพยาบาลศาสตร์ มีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับนักศึกษา ที่สอดคล้องกับสังคมวิถีใหม่แต่ยังสามารถรักษาคุณภาพของการเรียนการสอนและผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาได้
References
Kowitlawakul Y, Chow YL, Salam ZH, Ignacio J. Exploring the use of standardized patients for simulation-based learning in preparing advanced practice nurses. Nurse Educ Today. 2015 Jul;35(7):894-9. doi: 10.1016/j.nedt.2015.03.004.
Palmaria C, Bolderston A, Cauti S, Fawcett S. Learning From Cancer Survivors as Standardized Patients: Radiation Therapy Students' Perspective. J Med Imaging Radiat Sci. 2020 Dec;51(4S):S78-S83. doi: 10.1016/j.jmir.2020.09.011.
Dietrich E, Le Corre Y, Dupin N, Dréno B, Cartier I, Granry JC, Martin L. Benefits of simulation using standardized patients for training dermatology residents in breaking bad news. Ann Dermatol Venereol. 2021 Sep;148(3):156-160. doi: 10.1016/j.annder.2020.11.003.
Norouzi Z, Jafarnejad F, Khadivzadeh T, Esmaily H, Hedjazi A. Comparison of the effect of standardized patient-based training with team-based learning on the knowledge of midwifery students in providing services to victims of rape. J Educ Health Promot. 2019 Dec 31;8:267. doi: 10.4103/jehp.jehp_237_18.
Jang, KI, Yoo YS, Roh YS. Development and effectiveness of an oncology nursing standardized patient simulation program for nursing students. Korean Journal of Adult Nursing. 2019;31(6):595-604.
Kucukkelepce GE, Dinc L, Elcin M. Effects of using standardized patients on nursing students' moral skills. Nurs Ethics. 2020 Nov;27(7):1587-1602. doi: 10.1177/0969733020935954.
Kucukkelepce GE, Dinc L, Elcin M. Views of nursing students on using standardized patient and in-class case analysis in ethics education. Nurse Educ Today. 2021 Dec;107:105155. doi: 10.1016/j.nedt.2021.105155.
Knutson de Presno A, Øgard-Repal A, Fossum M. Simulation with standardized patients for nursing students in preparation for clinical placements in mental health care. Clinical Simulation in Nursing. 2021;May54:70-6. doi:10.1016/j.ecns.2021.01.009.
กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค : Media analysis concepts and techniques. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: Thaicoon Higher Press; 2547.
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9