การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร, ประสิทธิภาพการจัดบริการ, การสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก เวชศาสตร์วิถีชีวิต,บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตและศึกษากระบวนการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองและผู้มารับบริการคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิตและส่งเสริมสุขภาวะ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ระยะที่ 1 ได้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต รูปแบบการจัดหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินการ การวัดและประเมินผล เนื้อหาสำหรับการฝึกอบรมเป็นไปตามแนวทางการดูสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต ซึ่งผลการจัดอบรมหลักสูตรฯ พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมีคะแนนความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ระยะที่ 2 พบว่า การจัดบริการเป็นไปตามแนวทางการดูสุขภาพด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต ประกอบด้วย 6 เสาหลัก ได้แก่ ด้านโภชนาการ กิจกรรมทางกาย การนอนหลับ การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม การเลิกบุหรี่ และการจัดการความเครียด ระยะที่ 3 พบว่าผู้เข้ารับบริการในคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิตและส่งเสริมสุขภาวะ หลังเข้ารับบริการมีคะแนนการประเมินพฤติกรรมสุขภาพเวชศาสตร์วิถีชีวิตสูงกว่าก่อนเข้ารับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภานุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา (บรรณาธิการ). สถานการณ์โรคไม่ติดต่อตาม 9 เป้าหมายระดับโลกของประเทศไทย.รายงานสถานการณ์โรค NCDs [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ม.ค. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf
สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม PP&P Services (Rebranding Lifestyle Medicine) ของหน่วยงานบริการสังกัดกรมอนามัยในส่วนภูมิภาคและหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 25]. เข้าถึงได้จาก: https://mwi.anamai.moph.go.th/th/hrd/download/?did=216853&id=117651&reload=
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สธ.หนุนการพัฒนาศักยภาพแพทย์ด้วย“เวชศาสตร์วิถีชีวิต”ลดป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง : “เวชศาสตร์วิถีชีวิต” กับการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 30]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27271
Nadler L. Corporate Human Resource Development: A Management Tool. New York: Van. Nostrand Reinhold; 1980.
อาทิตยา ปะทิเก, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ.2562;12(2):477-98.
ณิชนันทน์ ไพรวิจารณ์, พิกุล ศรีบุตรดี, อัญชลี ภู่บุบผากาญจน์, นภัสนันท์ พิทักษ์กุล, วิภาดา รูปงาม. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้รับบริการโรคความดันโลหิตสูงที่คลินิกตรวจโรคทั่วไป.การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 15; วันที่ 12-14 มิถุนายน 2565; ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย; 2563.
สถาบันปัณณทัต. หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พ.ค. 7]. เข้าถึงได้จาก: https://pannatat.anamai.moph.go.th/th/lifestyle-medicine/?reload
พัชราวลัย มีทรัพย์. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน. วารสารราชพฤกษ์. 2565;202:124-38.
พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, ภูดิท เตชาติวัฒน์. เวชศาสตร์วิถีชีวิต: เวชปฏิบัติแนวใหม่แบบสหสาขาวิชาชีพ เพื่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทยสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย 2565;1(4):456-63.
American College of Lifestyle Medicine. 6 ways lifestyle medicine to take control of your health [Internet]. 2021 [cited 2024 Jan 19]. Available from: https://lifestylemedicine.org/wp-content/uploads/2023/06/Pillar-Booklet.pdf
Sadiq IZ. Lifestyle medicine as a modality for prevention and management of chronic diseases. J Taibah Univ Med Sci. 2023 Apr 15;18(5):1115-1117. doi: 10.1016/j.jtumed.2023.04.001.
Sagner M, Katz D, Egger G, Lianov L, Schulz KH, Braman M, Behbod B, Phillips E, Dysinger W, Ornish D. Lifestyle medicine potential for reversing a world of chronic disease epidemics: from cell to community. Int J Clin Pract. 2014 Nov;68(11):1289-92. doi: 10.1111/ijcp.12509.
Tariq MNM, Stojanovska L, Dhaheri ASA, Cheikh Ismail L, Apostolopoulos V, Ali HI. Lifestyle Interventions for Prevention and Management of Diet-Linked Non-Communicable Diseases among Adults in Arab Countries. Healthcare (Basel). 2022 Dec 23;11(1):45. doi: 10.3390/healthcare11010045.
Hyman MA, Ornish D, Roizen M. Lifestyle medicine: treating the causes of disease. Altern Ther Health Med. 2009 Nov-Dec;15(6):12-4.
Lianov LS, Adamson K, Kelly JH, Matthews S, Palma M, Rea BL. Lifestyle Medicine Core Competencies: 2022 Update. Am J Lifestyle Med. 2022 Aug 31;16(6):734-739. doi: 10.1177/15598276221121580.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9