ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ดำรัสศิริ โลหะกาลก สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อนัญญา ประดิษฐปรีชา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ความผูกพันต่อองค์กร, คุณภาพชีวิตในการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาล 2) ระดับความตั้งใจลาออกของพยาบาล และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาคือพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง 1,560 คน คำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรและสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 369 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 359 ฉบับ (ร้อยละ 97.3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปร
เป็นขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 90.3 มีอายุเฉลี่ย 38.35 ปี (SD=10.48) สถานภาพสมรสร้อยละ 55.4 อายุงานเฉลี่ย 16.15 ปี (SD=8.32) มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.50 คน (SD=3.21) ปัจจัยด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (equation=2.94, SD=0.18) ความผูกพันต่อองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (equation=2.41, SD=0.22) และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (equation=2.61, SD=0.26) 2) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจลาออกจากงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (equation=3.68, SD=0.37) และ 3) ตัวแปรพยากรณ์ร่วมทำนายความตั้งใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส แรงจูงใจด้านลักษณะงานและด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและเพื่อนร่วมวิชาชีพ คุณภาพชีวิตด้านสภาพการปฏิบัติงานมีความปลอดภัยส่งเสริมสุขภาพและด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 29.3 (R2=0.293)

Author Biographies

ดำรัสศิริ โลหะกาลก, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

อนัญญา ประดิษฐปรีชา, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อารยา ประเสริฐชัย, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์

References

Herberg F, Mausner B, Snyderman BB. The Motivation to Work. New York: Routledge; 1993.

สุวิณี วิวัฒน์วานิช, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, รัชพันธุ์ เชยจิตร. สถานการณ์ความยากจนในผู้สูงอายุและรูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2551

วงเดือน เลาหวัฒนภิญโญ, พัทธมน สุริโย, เกล็ดดาว ลิมปิศิลป์, พัชรา ยิ้มศรวล. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัย. เพชรบุรี: งานห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี; 2552.

สภาการพยาบาล. สภาการพยาบาล นำเสนอข้อมูลนโยบายและทิศทางการผลิต การพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล ปัญหาการขาดแคลนและการธำรงรักษาพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 เมษายน 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/news/723

Smith PC, Kendall LM, Hulin CL. The Measurement of Satisfaction in Work and Retirement: A strategy for the study of attitudes. Chicagoม IL: Rand McNally; 1969.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10th ed. New Jersey: Pearson; 2005.

Allen NJ, Meyer JP. The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology. 1990; 63(1):1-18.

กาญจนา มณีวัฒนภิญโญ, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ โดยมีการรับรู้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การเป็นตัวแบบกำกับ. วารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 2562;9(1):125-38.

ณัฐชามญฑ์ ภคพงศ์พันธ์, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ โดยมีการรับรู้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การเป็นตัวแปรกำกับ. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 2562;9(1):125-38.

สมศักดิ์ ท้ายเรือคำ. การพัฒนาแบบสอบถามและแบบวัดทางจิตวิทยา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2559;3(1):35-48.

ทัศนีย์ ชาติไทย. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สุทธิปริทัศน์. 2560; 31(97):2560.

ศิริพร เสนามนตรี. คุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2556.

Walton. Criteria for Quality of Working Life. In Davis L, Cherns A, editors. The Quality of Working Life. New York: Free Press; 1973.

Bothma CFC, Roodt G. The validation of the turnover intention scale. SA Journal of Human Resource Management. 2013;11:1-12.

Heo YM, Lee M, Jang SJ. Intentions of frontline nurses regarding COVID-19 patient care: A cross-sectional study in Korea. J Nurs Manag. 2021 Sep;29(6):1880-1888. doi: 10.1111/jonm.13333.

Mirzaei A, Rezakhani Moghaddam H, Habibi Soola A. Identifying the predictors of turnover intention based on psychosocial factors of nurses during the COVID-19 outbreak. Nurs Open. 2021 Nov;8(6):3469-3476. doi: 10.1002/nop2.896.

สุชาดา สงวนพรรค. ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจลาออกของพยาบาลวิชาชีพ Generation Z ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

ศศิธร เพ็ชรเผือก. ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลศิครินทร์ [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

มัทวัน เลิศวุฒิวงศา. ความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของพนักงานเอกชน กรณีศึกษาบริษัทจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.

เขมิกา ณภัทรเดชานนท์, วรรณี เดียวอิศเรศ, นุชจรี ไชยมงคล. ความชุกของการถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานของพยาบาลวิชาชีพอาวุโส. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2564; 16(1):38-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-02