ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • อภิชญา อาจอารัญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
  • ธิติรัตน์ ราศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการเกิน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-4 ปี ที่ศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เขตอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 184 คู่ และครูประจำชั้น จำนวน 8 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

ผลการศึกพบว่า ภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร้อยละ 31.52 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือการจัดเก็บอาหารในบ้าน (HE) (ORadj=0.75, 95%CI=0.26-2.10) รองลงมาเป็นพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ปกครอง (MB) (ORadj=5.00, 95%CI=2.01-12.40) การจัดอาหารให้แก่เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (SE) (ORadj=0.75, 95%CI=0.26-2.10) กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเล่นที่บ้านของเด็ก (CA) (ORadj=2.64, 95%CI=1.00-6.91) และการจัดกิจกรรมทางกายให้แก่เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ST) (ORadj=0.28, 95%CI=0.08-0.96) ตามลำดับ มีอำนาจการทำนายร้อยละ 78.8 

ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และป้องกันภาวะโภชนาการเกินให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนต่อไป

Author Biographies

อภิชญา อาจอารัญ, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ธิติรัตน์ ราศิริ, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

อาจารย์

References

วราภรณ์ จิตอารี. การศึกษาสถานการณ์ภาวะการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด-6 เดือน กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเลย และจังหวัดสตูล [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 22]; เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/file/presentations/doh2.pdf

WHO. Guideline sugars intake for adults and children. Geneva: WHO; 2015.

Global Nutrition Report. 2022 Global Nutrition Report [serial online]. 2022 [cited 2022 Dec 12]. Available from: https://globalnutritionreport.org/reports/2022-global-nutrition-report/

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวิเชียรบุรี. รายงานโภชนาการเด็ก 0-5 ปี. Health Data Center: HDC [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 22]; เข้าถึงจาก: https://pnb.hdc.moph.go.th

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดีสำหรับบุคลำกรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.

จงจิตต์ ฤทธิรงค์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, ธีรนงค์ สกุลศรี. การให้บริการของศูนย์การศึกษาก่อนวัยเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: http://knowledgefarm.in.th/wp-content/uploads/2016/09/preschool-service.pdf7

สายสุนีย์ อ้ายโน, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่ออัตราภาวะโภชนาการเกินของเด็กนักเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561;32(1):11-28.

Likert R. The method of constructing and attitude scale. Archives of Psychology, 140: 44-53.

Health Data Center: HDC. รายงานโภชนาการเด็ก 0-5 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: https://pnb.hdc.moph.go.th

วิจิตรา อิ่มอุระ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562;27(1):1-12.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.

จิรภาภรณ์ ปัญญารัตนโชติ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(2):43-56.

Singhal A. Obesity in Toddlers and Young Children: Causes and Consequences. Nestle Nutr Inst Workshop Ser. 2020;95:41-51. doi: 10.1159/000511510.

Lanigan J, Barber S, Singhal A. Prevention of obesity in preschool children. Proc Nutr Soc. 2010 May;69(2):204-10. doi: 10.1017/S0029665110000029.

จิรารัตน์ พร้อมมูล, ตรีทิพย์ เครือหลี, ชุติมา เพิงใหญ่, วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(3):169-85.

เสาวณีย์ เทศนุ้ย, เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(4):101-16.

จิราภา สุวรรณกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2565;31(2):81-94.

Campbell J. The effect of nurse champions on compliance with Keystone Intensive Care Unit Sepsis-screening protocol. Crit Care Nurs Q. 2008 Jul-Sep;31(3):251-69. doi: 10.1097/01.CNQ.0000325050.91473.0b.

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, กมลรัตน์ ทองสว่าง. การส่งเสริมโภชนาการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563; 14(35):483-94.

รักมณี บุตรชน, สรายุทธ ขันธะ, กิตติพงษ์ ธิบูรณ์บุญ, มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์, สุธาสินี คำหลวง. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทางโทรทัศน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/research/170946

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03