เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้กับผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • โรจนกาล พานดวงแก้ว, พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศูนย์ชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กับผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีจำนวน 177 คน และผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำนวน 123 คน เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองกลุ่ม พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ การรับประทานผักใบเขียว (87.6% vs 76.4%) การดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน (92.7% vs 85.4%) การรับประทานข้าวกล้อง (30.0% vs 42.3%) การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (46.3% vs 35.0%) การรับประทานของหวาน (82.5% vs 69.1%) การรับประทานผลไม้รสหวาน (81.4% vs 67.5%) การรับประทานอาหารที่ใช้กะทิ (65.0% vs 50.4%) การปรุงอาหารด้วยน้ำปลาหรือซีอิ้ว (74.0% vs 62.6%) การรับประทานไส้กรอก (75.7% vs 58.5%) การลืมรับประทานยา (44.6% vs 32.5%) และการติดตามข่าวสาร ความรู้ในการดูแลตนเอง (96.1% vs 89.4%) สรุปได้ว่า ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ส่วนใหญ่มีการบริโภคอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม รวมถึงการลืมรับประทานยา ดังนั้นจึงควรมีการจัดโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเหล่านี้

Author Biography

โรจนกาล พานดวงแก้ว, พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศูนย์ชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

นายแพทย์ชำนาญการ

References

World Health organization. Prevalence of diabetes mellitus. Diabetes [Internet]. 2023 [cited 2023 Oct 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

International Diabetes Federation. Prevalence of diabetes mellitus. IDF Diabetes Atlas Reports [Internet]. 2023 [cited 2023 Oct 1]. Available from: https://diabetesatlas.org

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาแซง. ผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ปีงบประมาณ 2564-2566 [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล; 2566.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=169

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Alsuliman MA, Alotaibi SA, Zhang Q, Durgampudi PK. A systematic review of factors associated with uncontrolled diabetes and meta-analysis of its prevalence in Saudi Arabia since 2006. Diabetes Metab Res Rev. 2021 Mar;37(3):e3395. doi: 10.1002/dmrr.3395.

Riaz F, Al Shaikh A, Anjum Q, Mudawi Alqahtani Y, Shahid S. Factors related to the uncontrolled fasting blood sugar among type 2 diabetic patients attending primary health care center, Abha city, Saudi Arabia. Int J Clin Pract. 2021 Jul;75(7):e14168. doi: 10.1111/ijcp.14168.

วรารัตน์ ปาจรียานนท์, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, ลุนณี สุวรรณโมรา, สุพรรัตน์ ช่องวารินทร์, นวรัตน์ ภูเหิน. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2561;15(1):118-27.

Bralić Lang V, Bergman Marković B, Vrdoljak D. The association of lifestyle and stress with poor glycemic control in patients with diabetes mellitus type 2: a Croatian nationwide primary care cross-sectional study. Croat Med J. 2015 Aug;56(4):357-65. doi: 10.3325/cmj.2015.56.357.

Alramadan MJ, Afroz A, Hussain SM, Batais MA, Almigbal TH, Al-Humrani HA, Albaloshi A, Romero L, Magliano DJ, Billah B. Patient-Related Determinants of Glycaemic Control in People with Type 2 Diabetes in the Gulf Cooperation Council Countries: A Systematic Review. J Diabetes Res. 2018 Feb 25;2018:9389265. doi: 10.1155/2018/9389265.

Al-Rasheedi AA. Glycemic Control among Patients with Type 2 Diabetes Mellitus in Countries of Arabic Gulf. Int J Health Sci (Qassim). 2015 Jul;9(3):345-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06