ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผู้ป่วยในที่บ้าน ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อธิบ ลีธีระประเสริฐ, พ.บ. กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, การดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน, การควบคุมระดับน้ำตาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการควบคุมระดับน้ำตาล และความพึงพอใจของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผู้ป่วยนอกกับแบบผู้ป่วยในที่บ้าน

วิธีการศึกษาการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า คัดออก จำนวน 156 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 78 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test

ผลการวิจัย: หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับบริการการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน มีค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1C) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และมีความพึงพอใจในบริการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.048)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลของการดูแลผู้ป่วยในที่บ้านสำหรับผู้เบาหวานได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีความพึงพอใจในบริการ ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก

Author Biography

อธิบ ลีธีระประเสริฐ, พ.บ., กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

Riddle MC, Cefalu WT, Evans PH, Gerstein HC, Nauck MA, Oh WK, et al. Consensus report: definition and interpretation of remission in type 2 diabetes. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 2022;107(1):1-9.

Lean ME, Leslie WS, Barnes AC, Brosnahan N, Thom G, McCombie L, et al. Durability of a primary care-led weight-management intervention for remission of type 2 diabetes: 2-year results of the DiRECT open-label, cluster-randomised trial. The lancet Diabetes & endocrinology. 2019;7(5):344-55.

Taylor R. Type 2 diabetes and remission: practical management guided by pathophysiology. Journal of internal medicine. 2021;289(6):754-70.

สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กรุงเทพ: ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย; 2565.

Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods 2007;39(2):175-91.

Keeratiyutawong P, Hanucharurnkul S, Melkus GE, Panpakdee O, Vorapongsathorn T. Effectiveness of a self-management program for Thais with type 2 diabetes. Thai J Nurs Res 2006;10(2):85-97.

Toobert DJ, Glasgow RE. Assessing diabetes self-management: the summary of diabetes self-care activities questionnaire. Handbook of psychology and diabetes: A guide to psychological measurement in diabetes research and practice. 1994;351:75.

สุนิดา สดากร. ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. [ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล, พิชญ์ พหลภาคย, สว่างจิต สุรอมรกูล. ผลของการติดตามสุขภาพทางไกล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2564;65(ฉบับเพิ่มเติม):76-89.

Walker EA, Shmukler C, Ullman R, Blanco E, Scollan-Koliopoulus M, Cohen HW. Results of a successful telephonic intervention to improve diabetes control in urban adults: a randomized trial. Diabetes care. 2011;34(1):2-7.

สุชีลา บุญจันทร์, ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ. ผลของการให้ความรู้เรื่องการนับคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการโทรศัพท์ติดตาม ต่อค่าระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารโภชนาการ. 2561;53(2):71-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-09