ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าสู่ระยะสงบของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
เบาหวานชนิดที่ 2, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด, เบาหวานระยะสงบบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าสู่ระยะสงบของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 80 คน ที่เคยรักษาด้วยยาเบาหวานชนิดเม็ดเท่านั้นมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยทุกรายจะได้เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการติดตามให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางโทรศัพท์ เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Paired sample t-test และสถิติ Multiple logistic regression หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าสู่ระยะสงบของผู้ป่วยเบาหวาน
ผลการศึกษา: หลังการศึกษาผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดัชนีมวลกายลดลง และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังจากการศึกษา 6 เดือน ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเข้าสู่ระยะสงบ ร้อยละ 15 (12 คน) ลดยารักษาโรคเบาหวานได้ร้อยละ 41.25 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการที่ผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบ ได้แก่ อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 (aOR 4.53, 95%CI=1.00-20.41, p=0.049) และพฤติกรรมสุขภาพระดับสูง (aOR 5.58, 95%CI=1.23- 25.17, p=0.025)
สรุป: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดดังกล่าว สามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หยุดใช้ยาเบาหวานได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุน้อย และควรขยายไปใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ ต่อไป
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission service). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด; 2566.
Riddle MC, Cefalu WT, Evans PH, Gerstein HC, Nauck MA, Oh WK, et al. Consensus report: definition and interpretation of remission in type 2 diabetes. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism 2022;107(1):1-9.
สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [Internet]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย; 2565.
Kang H. Sample size determination and power analysis using the G* Power software. Journal of educational evaluation for health professions 2021;18.
อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2561;3(2):58–72.
Jia SS, Liu Q, Allman-Farinelli M, Partridge SR, Pratten A, Yates L, et al. The use of portion control plates to promote healthy eating and diet-related outcomes: a scoping review. Nutrients 2022;14(4):892.
พิชิต สุขสบาย. ประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2567;38(1):1–15.
คมกริช ฤทธิ์บุรี. กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่ภาวะ “Remission”: กรณีศึกษา กลยุทธ์การขับเคลื่อน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2566;5(1):123-36.
อุษนีย์ รามฤทธิ์. ผลการพัฒนารูปแบบทางการพยาบาลในการจัดการรายกรณีและการกำกับตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ. วารสารวิชาการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2567;2(3):27-41.
สุริยะ คูหะรัตน์, ดวงเดือน ก้อนทอง. ประสิทธิผลของโปรแกรม DPACrb Ketogenic Diet ในการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(Supplement 2):365–75.
SMART Goals. A How to Guide [Internet] 2024 [cited 2024 Aug 16 ]. Available from: https://www.ucop.edu/local-human-resources/_files/performance-appraisal/How%20to%20write%20SMART%20Goals%20v2.pdf
อภิชาติ วิชญาณรัตน์. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน. กรุงเทพฯ: บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด; 2566.
Salman AA, Salman MA, Marie MA, Rabiee A, Helmy MY, Tourky MS, et al. Factors associated with resolution of type-2 diabetes mellitus after sleeve gastrectomy in obese adults. Scientific Reports 2021;11(1):6002. doi:10.1038/s41598-021-85450-9.
Lean ME, Leslie WS, Barnes AC, Brosnahan N, Thom G, McCombie L, et al. Durability of a primary care-led weight-management intervention for remission of type 2 diabetes: 2-year results of the DiRECT open-label, cluster-randomised trial. The lancet Diabetes & endocrinology 2019;7(5):344-55.
Hicks J, Muller M, Panteghini M, John G, Deeb L, Buse J, et al. Consensus statement on the worldwide standardization of the hemoglobin A1C measurement-The American Diabetes Association, European Association for the Study of Diabetes, International Federation of Clinical Chemistry and Laboratory Medicine, and the International Diabetes Federation. Diabetes Care 2007;30(9):2399-400.
Gillani SM, Raghavan R, Singh BM. A 5-year assessment of the epidemiology and natural history of possible diabetes in remission. Primary Care Diabetes 2021;15(4):688-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9