ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ร่วมกับ 3 ต. For You “เตือน ติดตาม ไต่ถาม” เพื่อการป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • นภาพร เวสสุกรรม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์ ภาควิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จินทภา เบญจมาศ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านโภชนาการ, ภาวะโภชนาการเกิน, เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

ภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป หากปัญหารุนแรงมากขึ้นจะเรียกว่าโรคอ้วนที่เป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ร่วมกับ 3 ต. for you “เตือน ติดตาม ไต่ถาม” เพื่อการป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2567 เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 33 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ร่วมกับ 3 ต. for you “เตือน ติดตาม ไต่ถาม” เพื่อป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 6 กิจกรรม และการติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมใดๆ แต่จะได้รับกิจกรรมของการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติของโรงเรียน เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test, สถิติ Paired t-test และสถิติ McNemar’s Chi-square test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ประกอบด้วยทักษะ 6 ด้าน และการปฏิบัติในการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และมีค่าสัดส่วนภาวะโภชนาการของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง หลังการทดลองอยู่ในเกณฑ์สมส่วนสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

Author Biographies

นภาพร เวสสุกรรม, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาปริญญาโท

นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์, ภาควิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

จินทภา เบญจมาศ, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาปริญญาเอก

References

World Health Organization. Obesity and overweight [Internet]. 2021 [cited 2022 May 26]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานประจำปี เฝ้าระวังทางโภชนาการ 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2565 ธันวาคม 1]. เข้าถึงได้จาก:https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/ebnutritionsurveillance/4261#wow-book

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. งานอนามัยโรงเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤษภาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: https://lri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_student.php?cat_id=67f8b1657bc8c796274fb9b6ad5a701d&id=76830adec6c892ee56a56938208d1460

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 เมษายน 3]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/kpi-template-2564/

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563.

ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. โภชนาการในเด็กวัยเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 30]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1328

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิด หลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.). นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2557.

รัตนาภรณ์ สาสีทา, คัติยา อีวาโนวิช, ฉวีวรรณ บุญสุยา. ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2565;17(1):28-43.

ธิดารัตน์ สิงห์ทอง, คัติยา อีวาโอนิช, ฉวีวรรณ บุญสุยา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Thai Journal of Public Health. 2563;50(2):148-60.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน สำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2546.

จรัญ ผดุงนานนท์. การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นที่มารับบริการ ณ สถาบัน จิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี; 2553.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10th edition. Cape Town: Pearson Educational Inc. 2006.

Bloom BS. Individual Differences in School Achievement: A vanishing point: A Monograph. Aera-pdk Award Lecture Annual Meeting American Educational. Bloomington, Indiana: Phi Delta Kappan International; 1971.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต ของเด็กอายุ 6-19 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564.

วัลลภา วาสนาสมปอง, ธัญสิริ ภะวัง. ผลของการสอนสุขศึกษาด้วยการเรียนรู้แบบเกมที่มีต่อความรู้เรื่องโภชนาการเด็กวัยเรียนในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2563;5(1):37-46.

มยุรฉัตร กันยะมี, ศรีสุดา รัศมีพงศ์, นะฤเนตร จุฬากาญจน์. ผลโปรแกรมการใช้ครอบครัวเป็นฐานเพื่อป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2562;14(4):170-4.

Liu Z, Gao P, Gao AY, Lin Y, Feng XX, Zhang F, et al. Effectiveness of a Multifaceted Intervention for Prevention of Obesity in Primary School Children in China: A Cluster Randomized Clinical Trial. JAMA Pediatr. 2022 Jan 1;176(1):e214375. doi: 10.1001/jamapediatrics.2021.4375.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22