ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการห้องฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นในยามวิกาลในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ห้องฉุกเฉิน, การมารับบริการโดยไม่จำเป็น, บุรีรัมย์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์การมารับบริการห้องฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นในยามวิกาลรวมถึงศึกษาความรู้สึกของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการดูแลกลุ่มผู้มารับบริการดังกล่าว ประกอบด้วยการศึกษาแบบ Case-control study โดยทบทวนเวชระเบียนผู้มารับบริการโดยจำเป็นและไม่จำเป็นในยามวิกาลจำนวนกลุ่มละ 100 ราย และการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยาโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรทางการแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินทั้งหมด 8 ราย การศึกษาเชิงปริมาณแสดงผลเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ตัวแปรที่ให้ค่า p-value จากการวิเคราะห์แบบตัวแปรเดียว น้อยกว่า 0.05 จะวิเคราะห์ต่อ ด้วยวิธี Multivariable logistic regression แสดงผลเป็น Adjusted odds ratio (AdjOR) และ 95%CI สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพจะวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลารอคอยในกลุ่มผู้มารับบริการห้องฉุกเฉินในยามวิกาลโดยจำเป็นและไม่จำเป็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.032) และเมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี Multivariable logistic regression พบว่าผู้มารับบริการที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ (p-value=0.0012) มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการห้องฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นยามวิกาล ในขณะเดียวกัน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ผู้มารับบริการส่วนหนึ่งไม่สะดวกมาพบแพทย์ในเวลาราชการหรือไม่มีความมั่นใจในการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย ทำให้บุคลากรทางการแพทย์รู้สึกเครียด เหนื่อยล้า กดดัน จนเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้มารับบริการกับผู้ให้บริการ ผู้มารับบริการที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารับบริการที่ไม่จำเป็นในยามวิกาล อันส่งผลกระทบต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้นของบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า จึงต้องมีนโยบายขยายเวลาการให้บริการผู้ป่วยนอกเวลารวมถึงการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย
References
กัญญา วังศรี. การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. Srinagarind Med J. 2556;28:69-73.
ศุภาพิชญ์ แสงส่อง, สุภาพร บุญเติม, ศรัณยู บุณยโพธิ, วิบูลลักษ์ นามสาย, พารณ คนขยัน. การใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินในช่วงนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. สรรพสิทธิเวชสาร. 2562;40(1-3):1-10.
Chen W, Linthicum B, Argon NT, Bohrmann T, Lopiano K, Mehrotra A, Travers D, Ziya S. The effects of emergency department crowding on triage and hospital admission decisions. Am J Emerg Med. 2020 Apr;38(4):774-779. doi: 10.1016/j.ajem.2019.06.039.
DeSalvo A, Rest SB, Nettleman M, Freer S, Knight T. Patient education and emergency room visits. Clin Perform Qual Health Care. 2000;8(1):35-7. doi: 10.1108/14664100010333017.
Ouyang H, Wang J, Sun Z, Lang E. The impact of emergency department crowding on admission decisions and patient outcomes. Am J Emerg Med. 2022 Jan;51:163-168. doi: 10.1016/j.ajem.2021.10.049.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2566 เขตสุขภาพที่ 9 [อินเทอร์เน็ต]. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ส.ค. 2]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-y60up/region?year=2023&rg=09
Chandrika KB, Pushpalata NK. Health Care Seeking Behaviour-A Theoretical Perspective. Paripex Indian J Res. 2017;6(1):790-2.
Lauver D. A Theory of Care‐seeking Behavior. J Nurs Scholarsh. 1992;24(4):281-8.
ปฐมาภรณ์ อุดมวิทย์, อาคม บุญเลิศ. สัดส่วนของผู้ป่วยที่ป่วยด้วยภาวะไม่ฉุกเฉินที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลชุมชน และเหตุผลที่มารับบริการ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2566;23(1):78-91.
Schmidt SAJ, Lo S, Hollestein LM. Research Techniques Made Simple: Sample Size Estimation and Power Calculation. J Invest Dermatol. 2018 Aug;138(8):1678-1682. doi: 10.1016/j.jid.2018.06.165.
Uscher-Pines L, Pines J, Kellermann A, Gillen E, Mehrotra A. Emergency department visits for nonurgent conditions: systematic literature review. Am J Manag Care. 2013 Jan;19(1):47-59.
Pappa E, Kontodimopoulos N, Papadopoulos A, Tountas Y, Niakas D. Investigating unmet health needs in primary health care services in a representative sample of the Greek population. Int J Environ Res Public Health. 2013 May 17;10(5):2017-27. doi: 10.3390/ijerph10052017.
Tavares AI, Ferreira PL, Cavadas V. Factors Contributing to Self-Medication and Consumption of Non-Prescribed Drugs in Portugal. Int J Public Health. 2022 Nov 7;67:1604852. doi: 10.3389/ijph.2022.1604852.
เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, ศศิรัตน์ ลัพธิกุลธรรม, กัญจนา ติษยาธิคม, ชาฮีดา วิริยาทร, วริศา พานิชเกรียงไกร, วลัยพร พัชรนฤมล. ความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet health need) กรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและบริการทันตกรรมในประเทศไทย พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560;11(2):182-94.
Vongmongkol V, Viriyathorn S, Wanwong Y, Wangbanjongkun W, Tangcharoensathien V. Annual prevalence of unmet healthcare need in Thailand: evidence from national household surveys between 2011 and 2019. Int J Equity Health. 2021 Nov 12;20(1):244. doi: 10.1186/s12939-021-01578-0.
กัญญา พฤฒิสืบ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารโรคเอดส์. 2564; 33(3):139-50.
พงษ์ลัดดา ปาระลี, ชัจคเณค์ แพรขาว. ปัจจัยทำนายการเกิดความแออัดที่ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(2):52-65.
คุณัชญ์ประเสริฐ วิฑูรเศรษฐ์, ประจักษ์ วิฑูรเศรษฐ์, อริสา สำรอง. การเปรียบเทียบภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี. 2566;17(3):141-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9