ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วสันต์ กิตติวีรวงศ์, พ.บ. โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
  • รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัย, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด  จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มารับบริการโรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามแบบพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า มีค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.86, 0.90, 0.93 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบเพียร์สันไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อยมาก (ร้อยละ 45.0) รองลงมาได้แก่ ระดับน้อย (ร้อยละ 23.1) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 23.1) และระดับรุนแรง ร้อยละ 8.9 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ สถานภาพสมรส  ความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเอง ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.01) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีการเฝ้าระวัง และคัดกรองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยของผู้ป่วยเอดส์ โดยการตรวจสอบปัจจัยด้านสถานภาพสมรส  ความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเอง ประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Author Biographies

วสันต์ กิตติวีรวงศ์, พ.บ., โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

อาจารย์

References

World Health Organization. HIV and AIDS [Internet]. 2024 [cited: 2024 Nov 18]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hiv-aids

HIV Info HUB. คาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวี [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พฤศจิกายน 18]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ทำความรู้จักโรคติดเชื้อ HIV เอชไอวี [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พฤศจิกายน 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue039/health-station

American Psychology Association. Stress effects on the body. [Internet]. 2024 [cited: 2024 Nov 18]. Available from: https://www.apa.org/helpcenter/stress-body

Wiginton K. HIV and Depression [Internet]. 2023 [cited: 2024 Nov 18]. Available from: https://www.webmd.com/hiv-aids/hiv-depression

Klein HE. People With HIV at Much Higher Risk of Depression, Suicide [Internet]. 2023 [cited: 2024 Nov 18]. Available from: https://www.ajmc.com/view/people-with-hiv-at-much-higher-risk-of-depression-suicide

นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57(4):439-46.

อาสาฬห์ สหุนิล, รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2567:18(2):537-49.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2556:16(2):9-18.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด (ST5). [อินเตอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/Download/view.asp?id=18

กรรณิการ์ ดาโลดม, อรนุช ภาชื่น, ฉวีวรรณ บุญสุยา. แรงสนับสนุนทางสังคม ภาวะซึมเศร้า พลังสุขภาพจิต และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มาเข้ารับบริการ ณ คลินิกแห่งหนึ่ง. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2561;14(2):12-26.

มหาวิทยาลัยมหิดล. แบบประเมินภาวะซึมเศร้า PHQ-9 [อินเตอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 2566 มีนาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/Download/view.asp?id=18

เนติลักษณ์ ศิลาอุดมกิจ, รัตติยากร ผุยมาตย. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการ ในคลินิกเอดส์ โรงพยาบาลเอราวัณ จังหวัดเลย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2566;31(4): 273-85.

มาลัย ใจสุดา, ฐาปกรณ์ เรือนใจ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร. 2560; 38(2):39-48.

Seid S, Abdu O, Mitiku M, Tamirat KS. Prevalence of depression and associated factors among HIV/AIDS patients attending antiretroviral therapy clinic at Dessie referral hospital, South Wollo, Ethiopia. Int J Ment Health Syst. 2020 Jul 29;14:55. doi: 10.1186/s13033-020-00389-0.

วิลาสินี สุราวรรณ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2564; 66(4):403-16.

Hankebo M, Fikru C, Lemma L, Aregago G. Depression and Associated Factors among People Living with Human Immunodeficiency Virus Attending Antiretroviral Therapy in Public Health Facilities, Hosanna Town, Southern Ethiopia. Depress Res Treat. 2023 Jul 25;2023:7665247. doi: 10.1155/2023/7665247.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-04

How to Cite

กิตติวีรวงศ์ ว., & พันธุ์โพธิ์ ร. (2025). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 19(1), 308–319. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/272277