ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก จำนวน 26 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานได้แก่สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ร้อยละ 57.9 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 42.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแล มี 2 ปัจจัย คือรายได้ (β=0.410, p<0.001) และจำนวนสมาชิกในครอบครัว (β=0.307, p<0.001) และสามารถร่วมกันทำนายระดับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลได้ร้อยละ 24.3 (R2=0.243, p<0.001) ผลการศึกษานี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชนต่อไป
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
เยาวลักษณ์ ทวีกสิกรรม, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, มณีรัตน์ พราหมณี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพาในเขตอําเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2557;24(3):104-18.
นิพร ขัดตา, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ภาระการดูแล และคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2561;24(2):108-28.
วรรณรัตน์ ลาวัง, รัชนี สรรเสริญ. มุมมองเชิงบวกจากการดูแล : มโนทัศน์สำคัญที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของญาติผู้ดูแล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2559;9(3):1-9.
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล. 2557;29(4):22-31.
กฤษณีย์ คมขำ, ดวงใจ รัตนธัญญา, กีรดา ไกรนุวัตร. ปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16(2):114-22.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Principles and methods. 7th ed. New York: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
จิรนันท์ ปุริมาตย์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, กรวรรณ ยอดไม้. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(4):610-9.
เอมิกา กลยนี, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, อารีย์วรรณ อ่วมตานี. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. วารสารพยาบาลตำรวจและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558;7(1):128-40.
สาริกข์ พรหมมารัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง อำเภอ บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2562;12(1):57-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9