ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อ Ankle Brachial Index ในกลุ่มมีความเสี่ยงต่อการตีบของหลอดเลือดในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • วีระยุทธ แก้วโมกข์, พ.บ. คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

มณีเวช, เบาหวานชนิดที่ 2, Ankle Brachial Index

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้เป็นเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  โรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน (Peripheral arterial occlusive disease: PAOD) สูงเป็น 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน ส่วนใหญ่เกิดหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน (Leg arterial occlusive disease: LAOD) มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกตัดขา ค่า ABI<1.0 เสี่ยงต่อการเกิด PAOD

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่ขาในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Quasi-experimental design: pre and post one group intervention study) ศึกษาให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน (ABI<1.0) ทำกายบริหารแบบมณีเวช 6 สัปดาห์ ทำการวัดค่า ABI เปรียบเทียบก่อนและหลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และระดับนัยสำคัญ (p-value) ที่ <0.05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานเป็นชาย 10 คน และหญิง 21 คนอายุเฉลี่ย 55 ปี ทุกคนออกกำลังกายจนครบ 6 สัปดาห์ แต่ 22 คน จาก 31 คน ทำกายบริหารสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ เมื่อใช้ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ การวัด ABI ข้างซ้าย (ABI: p=0.000) การวัด ABI ข้างขวา (ABI: p=0.000) ดีขึ้นกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.000

สรุป: การทำกายบริหารแบบมณีเวช สามารถเพิ่มค่า ABI ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

References

American Diabetes Association. Peripheral arterial disease in people with diabetes. Diabetes Care. 2003 Dec;26(12):3333-41. doi: 10.2337/diacare.26.12.3333.

Durnin JV, Womersley J. Body fat assessed from total body density and its estimation from skinfold thickness: measurements on 481 men and women aged from 16 to 72 years. Br J Nutr. 1974 Jul;32(1):77-97. doi: 10.1079/bjn19740060.

อัมพา สุทธิจำรูญ, เพชร รอดอารีย์, สุภาวดี ลิขิตมาศกุล, เขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย, วัลลา ตันตโยทัย,

วีระศักดิ์ ศรินนภากร. Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี; 2566.

Colberg SR, Azoury KR, Parson HK, Vinik AI. Exercise status affects skin perfusion via prostaglandin, nitric oxide, and EDHF pathways in diabetes. Microvasc Res. 2009 Mar;77(2):120-4. doi: 10.1016/j.mvr.2008.11.004.

Colberg SR, Parson HK, Nunnold T, Herriott MT, Vinik AI. Effect of an 8-week resistance training program on cutaneous perfusion in type 2 diabetes. Microvasc Res. 2006 Mar;71(2):121-7. doi: 10.1016/j.mvr.2005.11.005.

Kingwell BA, Formosa M, Muhlmann M, Bradley SJ, McConell GK. Type 2 diabetic individuals have impaired leg blood flow responses to exercise: role of endothelium-dependent vasodilation. Diabetes Care. 2003 Mar;26(3):899-904. doi: 10.2337/diacare.26.3.899.

Norgren L, Hiatt WR, Dormandy JA, Nehler MR, Harris KA, Fowkes FG; TASC II Working Group. Inter-Society Consensus for the Management of Peripheral Arterial Disease (TASC II). J Vasc Surg. 2007 Jan;45 Suppl S:S5-67. doi: 10.1016/j.jvs.2006.12.037.

ปัทมาพร ลิมปโนภาส. Collective review : Update Management in Acute Limb Ischemia [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2567 สิงหาคม 25]. เข้าถึงได้จาก: https://mahidol.ac.th/updatemanagementinacutelimbischemia%20patthamaphon%202

นภดล นิงสานนท์. มณีเวชเพื่อชีวิตง่ายๆ สบายๆ. เรียบเรียงจากคำสอนและแนวทางปฏิบัติของท่านอาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระประการ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2567 สิงหาคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kitty.in.th/wpcontent/uploads/2010/09/simple_way_to_make_life_easier.pdf

ปกรณ์ นาระคล, ธวัชชัย เทียมกลาง. ผลของการใช้การจัดกระดูกโดยวิธีมณีเวชร่วมรักษาภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือโดยวิธีอนุรักษ์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557;29(6): 535-41.

วิทวัส สิทธิวัชรพงศ์, วิจิตร บุณยะโหตระ. ประสิทธิผลของการบริหารร่างกายแบบมณีเวชเพื่อลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2567 สิงหาคม 25]. เข้าถึงได้จาก: https://archive.mfu.ac.th/school/antiaging/File_PDF/research56/Proceeding56_39.pdf

Jude EB, Eleftheriadou I, Tentolouris N. Peripheral arterial disease in diabetes--a review. Diabet Med. 2010 Jan;27(1):4-14. doi: 10.1111/j.1464-5491.2009.02866.x.

ปิยะวรรณ ขนาน, บวรลักษณ์ ทองทวี, เกสร สุวรรณประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการบริหารเท้าต่อการไหลเวียนโลหิตส่วนปลายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล. 2555; 61(2):42-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-01

How to Cite

แก้วโมกข์ ว. (2025). ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อ Ankle Brachial Index ในกลุ่มมีความเสี่ยงต่อการตีบของหลอดเลือดในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 19(1), 342–352. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/273023